3 ปัจจัยใช้ชีวิตหลังเกษียณให้มีความสุข

 

S__9683044

 

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว จากข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ได้ประมาณการณ์ว่าในอีก 15 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีประชากรผู้สูงอายุหนึ่งในสี่ของจำนวนประชากรทั้งหมด ขณะที่อัตราการเกิดใหม่กำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง

featured_image
ดังนั้น การใช้ชีวิตหลังเกษียณให้มีความสุขในมุมมองของ คุณทอมมี่ พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย  ซึ่งได้สะท้อนผ่านเว็บไซต์ INNWHY.COM ว่า การใช้ชีวิตหลังเกษียณให้มีความสุข นั้นมี 3 ปัจจัย คือ สุขภาพกายที่ดี  สุขภาพจิตใจที่ดี และสิ่งสำคัญที่สุด คือ สุขภาพทางการเงินต้องดีด้วย แต่ในสังคมสูงอายุ กลุ่มคนที่เป็นวัยแรงงานหารายได้และเสียภาษีให้กับภาครัฐมีอัตราลดลง และยังต้องแบกรับภาระที่สูงอาจทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ

 

คนแก่

 

ทั้งนี้มองว่า ผู้ทำงานวัยนี้เพื่อก้าวสู่สังคมสูงวัยในอนาคต ควรเริ่มวางแผนการออมเงินเพื่อสร้างหลักประกันที่มั่นคงยามเกษียณมากกว่าการหวังพึ่งพิงลูกหลาน หรืองบประมาณจากภาครัฐ  โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงที่น้่าเป็นห่วงของผู้สูงวัยในอนาคตคือ  ค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้นปีละ 8% และวิทยาการทางการแพทย์ที่อาจทำให้คนอายุยืนขึ้นในอีกสามสิบปีข้างหน้า

 

คุณทอมมี่ แนะนำว่า หนทางเดียวช่วยเราให้อยู่ในบั้นปลายหลังหยุดทำงา
นแล้วนั่นคือ การเริ่มติดอาวุธทางด้านการออม โดยไม่กำหนดว่าจะต้องมีอายุเท่าไหร่ ซึ่งวิธีการออมเงินให้หมั่นศึกษาวิธีการลงทุนแต่ละรูปแบบที่เหมาะสม

“…การออมที่เป็นเงินก้อน ถือว่ามีความเสี่ยง เพราะก่อนหน้าอาจวางแผนไว้ว่าจะใช้เงินถึงอายุ 75 ปี แต่หากอายุยืนมากกว่านั้น เงินก้อนที่เตรียมไว้อาจไม่เพียงพอ ส่วนเรื่องการลงทุนหลังวัยเกษียณก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่า ผู้สูงวัยจะไม่ผิดพลาดหรือสูญเสียเงินทั้งก้อนจากการลงทุน…”

 

@ชวนติดอาวุธการเงินที่เป็น Passive income

คุณทอมมี เล่าต่อว่า การมีประกันบำนาญถือเป็นเครื่องจักรทำงานด้านการเงินชนิดหนึ่งที่เป็น passive income ซึ่งคอยผลิตเงินให้เราตลอดชีวิต และสามารถลดความเสี่ยงจากที่อายุสั้นและอายุยืนไปในตัว โดยเฉพาะประกันบำนาญของประกันสังคม ที่จะจ่ายเงินให้เท่ากับอายุขัยของเราพอดีซึ่งเหมาะเป็นประกันพื้นฐานอันดับแรกของประชาชนที่ควรจะมี

Senior-thumbs-up

@ประกันสังคมคือก้าวแรกของการออม

สำหรับมุมมองต่อว่าระบบประกันสังคมนั้น คุณทอมมี่กล่าวว่า ประกันสังคมเป็นระบบสวัสดิการที่รัฐจัดตั้งขึ้นมาเหมือนเป็นกองทุนประเภทเพื่อการออม ไม่ใช่การเก็งกำไร และยังเป็นการฝึกให้คนไทยมีวินัย ออมก่อนใช้ โดยการที่รัฐหักเงินสมทบไว้ก่อน เพื่อคืนให้ในอนาคต และที่สำคัญเป็นระบบออมที่ให้ผลตอบแทนสูง ให้ทันทีที่เริ่มออม เพราะจะได้รับเงินสมทบจากนายจ้าง 100% และรัฐบาลสมทบอีกหนึ่งในสาม ซึ่งถือเป็นการลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนสูงและรับผลตอบแทนได้ตลอดชีวิต โดยเทียบกับการลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงยังไม่ได้ผลตอบแทนขนาดนี้ ซึ่งหากเป็นในต่างประเทศภาครัฐจะหักเงินส่วนนี้ในสัดส่วนที่สูงมากกว่าประกันประเภทอื่นๆ

 

@แนะอัตราเงินบำนาญควรปฏิรูปโครงสร้าง

สำหรับอัตราเงินบำนาญทั่วโลก คุณทอมมี่ วิเคราะห์ว่า ต้องจัดเก็บเงินส่วนนี้ไม่ต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นถึงจะเพียงพอ แต่ปัจจุบันภาครัฐคำนวณเงินสมทบจากฐานค่าจ้างแค่ 15,000 บาท หรือเฉลี่ยประมาณ 6% โดยรวมเงินที่ได้รับสมทบจากนายจ้างแล้ว จึงเป็นจุดอ่อนที่ทำให้ผู้ประกันตนมีโอกาสออมเงินน้อยและได้รับเงินบำนาญที่น้อยเกินไป

นอกจากนี้ คุณทอมมี่ มองว่า การปรับเพิ่มฐานดังกล่าวหรือการปฏิรูปโครงสร้าง การจัดเก็บใหม่ให้เหมาะกับสภาวะการณ์ที่แท้จริง จะเป็นแนวทางที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ประกันตนมีเงินใช้ยามเกษียณอย่างพอเพียงและเหมาะสมในการดำรงชีวิตได้ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ประเทศไทยประเทศเดียวเท่านั้นที่ต้องปฏิรูป แต่ประเทศอื่นๆ มีการปฏิรูปมานานแล้ว อย่างในอังกฤษเริ่มตื่นตัวมีการเตรียมพร้อม โดยขยายอายุออกไปเรื่อยๆ ทุกปี และการจะทำให้บำนาญของประกันสังคมจ่ายได้ในระดับที่ค่าครองชีพควรจะเป็น ในส่วนของเบี้ยก็ต้องมีการออมที่เพิ่มขึ้นด้วย

 

 

 

 

เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!.... เพิ่มเพื่อน