ระบบการประกันภัยการดูแลระยะยาว( long-term care insurance system )ของญี่ปุ่นจ่อวิกฤติ เจอ 2 เด้ง”ขาดเงินทุน- แรงงานพยาบาลช็อต” ผลพวงสูงวัยพุ่งพรวด  กระทบระบบการคลังอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างหนัก อาจต้องออกพันธบัตรมหาศาลกู้สถาณการณ์  ลากคนรุ่นหลังเป็นหนี้หัวโต  ชี้ทางแก้ต้องปฏิรูป! เพิ่มการร่วมจ่าย(co-payment)ของผู้ประกันตน  

เว็บไซต์ AsiaInsuranceReview.com รายงานคำกล่าวของ ดร. ทาดาโอะ คากิโซเอะ ประธานสมาคมโรคมะเร็งแห่งญี่ปุ่นและอดีตประธานศูนย์มะเร็งแห่งชาติว่า ระบบการประกันภัยการดูแลระยะยาว (long-term care insurance system )ของญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับความท้าทายที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและการขาดแคลนแรงงานพยาบาลอย่างรุนแรง

 ในบทความที่ตีพิมพ์ใน The Yomiuri Shimbun สื่อท้องถิ่น  ดร.คากิโซเอะ   กล่าวว่า ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดต่อความยั่งยืนของโครงการประกันภัยการดูแลระยะยาวซึ่งเปิดตัวในเดือนเมษายน ปี 2543  คือวิธีจัดการกับจำนวนผู้ที่ต้องการบริการด้านการพยาบาลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรสูงอายุ

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ในประเทศญี่ปุ่น ประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปคิดเป็น 28.6% ของประชากรทั้งหมดในปี 2543   โดย ณ เดือนมีนาคม ปี 2543 มีประชากรจำนวน 6.69 ล้านคนได้รับการรับรองว่าต้องการการดูแลและการสนับสนุนระยะยาว   เพิ่มขึ้นประมาณ 2.6 เท่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาหรือมากกว่านั้น

กระทรวงสาธารณสุขเผยข้อมูลที่น่าสนใจอีกว่า งบประมาณด้านสวิสดิการประกันสังคมประจำปีงบประมาณ 2566 ที่ใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566  (ปีงบประมาณ 2566 ) มีจำนวน 134 ล้านล้านเยน ( 100 เยนประมาณ 24 บาท) ประกอบด้วย สิทธิประโยชน์ด้านเงินบำนาญ 60ล้านล้านเยน  สิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาล 42 ล้านล้านเยน สิทธิประโยชน์การดูแลด้านการพยาบาล  14 ล้านล้านเยน และเงินช่วยเหลือบุตรและสิทธิประโยชน์การดูแลเด็ก 10 ล้านล้านเยน โดยรัฐบาลคาดว่า  สิทธิประโยชน์โดยรวมจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากเบี้ยประกันภัยที่เกี่ยวข้องจำนวน 78 ล้านล้านเยนในปีงบประมาณ 2566  และเงินสาธารณะจำนวน 53 ล้านล้านเยนจากกองทุนสาธารณะ

ดร. คากิโซเอะ กล่าวว่า จำนวนเงินจากกองทุนสาธารณะที่คาดการณ์ไว้ไม่สามารถครอบคลุมรายได้จากภาษีเพียงอย่างเดียวได้ เป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องมีการออกพันธบัตรรัฐบาลที่ขาดแคลนทุนทรัพย์จำนวนมหาศาล ซึ่งจะทำให้คนรุ่นหลังในญี่ปุ่นเป็นหนี้

ข้อมูลอย่างเป็นทางการในปี 2562  แสดงให้เห็นว่า ค่ารักษาพยาบาลโดยรวมเฉลี่ยประมาณ 50,000 เยนต่อคนสำหรับผู้สูงอายุระยะเริ่มต้นอายุตั้งแต่ 65 ปีถึง 74 ปี โดยค่ารักษาพยาบาลจะกระโดดเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 470,000 เยนต่อคนสำหรับผู้ที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป เนื่องจากประชากรผู้สูงอายุระยะสุดท้ายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะอันใกล้นี้  ส่งผลทำให้ระบบการคลังของญี่ปุ่นจะอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้น

เมื่ออายุครบ 40 ปี ผู้ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นมีหน้าที่ต้องเข้าร่วมระบบประกันภัยการดูแลระยะยาว โดยจะมีการเก็บเบี้ยประกันภัยการดูแลด้านการพยาบาลรวมกับเบี้ยประกันภัยสุขภาพจนกว่าจะอายุ 64 ปี ในกรณีของผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เบี้ยประกันภัยด้านการพยาบาลจะถูกหักออกจากสิทธิประโยชน์เงินบำนาญตามกฎพื้นฐาน กล่าวโดยย่อ ระบบสามารถอธิบายได้ว่า เป็นกรอบที่สังคมญี่ปุ่นทั้งหมดต้องสนับสนุนบริการด้านการพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุ

ดร. คากิโซเอะ กล่าวอีกว่า “เพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ รวมถึงการเสื่อมสภาพของทรัพยากรทางการเงิน ระบบการประกันภัยการดูแลระยะยาวจะต้องผ่านการปฏิรูปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงการเพิ่มการร่วมจ่าย(co-payment)ของผู้ประกันตน ”เขายังกล่าวด้วยว่า ผู้คนควรพยายามยืดอายุขัยที่มีสุขภาพดี   สภาวะของการมีชีวิตที่มีสุขภาพดีให้มากที่สุด

 

เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!.... เพิ่มเพื่อน