“ฟิทช์ เรทติ้ง” ชี้   บริษัทประกันภัยในเอเชีย แปซิฟิกเผชิญกับสถาณการณ์การดำรงเงินกองทุนที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น หลังหน่วยงานกำกับปรับเกณฑ์ RBC ใหม่ กระตุ้นกิจกรรม M&A มาเร็ว โดยเฉพาะหลังใช้ IFRS17

เว็บไซต์ Insurance Asia รายงานว่า   บริษัท ฟิทช์ เรทติ้ง  (Fitch  Ratings) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก เผย การปรับปรุงกรอบการดำรงเงินเงินกองทุนตามความเสี่ยง( risk-based capital:RBC) สำหรับบริษัทประกันภัยของหน่วยงานกำกับดูแลประเทศในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก (APAC) กระตุ้นให้เกิดการหารือเกี่ยวกับการลงทุนสินเชื่อภาคเอกชน ,กิจกรรมการควบรวมและซื้อกิจการ (M&A) และการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การลงทุนใหม่  

Monsur Hussain หัวหน้าฝ่ายวิจัยสถาบันการเงินบริษํท ฟิทช์ เรทติ้ง กล่าวว่า ภายใต้กรอบใหม่ บริษัทประกันภัยในฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ไม่ได้ถูกกำหนดให้ถือครองเงินกองทุนที่ชัดเจนเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านการขาดสภาพคล่องจากการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน ส่งผลให้การลงทุนเหล่านี้อาจก่อให้เกิดผลตอบแทนที่ขาดสภาพคล่องเมื่อเทียบกับพันธบัตรที่ซื้อขายกันอย่างแข็งขัน

Terrence Wong ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการจัดอันดับประกันภัยบริษัท ฟิทช์ เรทติ้ง  เน้นย้ำว่า บริษัทประกันภัยขนาดเล็กที่มีสถานะทางการตลาดอ่อนแอกว่า อาจเผชิญกับต้นทุนด้านเงินทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจสูงกว่าผลตอบแทนจากการ การดำเนินธุรกิจ  ดังนั้นอาจเร่งให้เกิดกิจกรรมการควบรวมและซื้อกิจการ (M&A) เร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17( IFRS17 )มาใช้ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ซึ่ง IFRS 17 จะช่วยยกระดับความโปร่งใสและความสามารถในการเปรียบเทียบของตัวชี้วัดทางการเงินของบริษัทประกันภัยดียิ่งขึ้น

ฟิทช์ เผยว่า กรอบเงินกองทุนที่ปรับปรุงใหม่มีแนวโน้มที่จะลดการดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม (Capital buffers)สำหรับบริษัทประกันภัยในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกลงเมื่อเทียบกับเกณฑ์เดิม ส่งผลให้มีการออกพันธบัตรทุน (capital bonds )เพิ่มขึ้นเพื่อเสริมสร้างความเพียงพอของเงินกองทุนให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ดี การออกพันธบัตรจะขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเป็นสำคัญ

เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....