การประชุมผู้บริหารระดับสูงด้านการประกันภัย ประจำปี 2566 (CEO Insurance Forum 2023) 

ณ ห้องคริสตัลฮอลล์ ชั้น 3 โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเต็ล แบงค็อก ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา มีประเด็นหัวข้อ “การบ้าน” ที่เป็นปัญหายาวนานในภาคธุรกิจประกันภัยไทยอย่างกรณีของพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ของ “คนกลางประกันภัย” เป็นหัวข้อสำคัญหัวข้อหนึ่ง

โดยก่อนหน้านี้ก็มีความพยายาม ที่ “สำนักงาน คปภ.” มีการหรือหารือพูดคุยกับเหล่า CEO หรือ Chief Executive Officer คือ ผู้บริหารสูงสุด ของแต่ละองค์กรนำประเด็นดังกล่าวมาเป็นข้อถกเถียงเพื่อหา “ข้อสรุป” ในแนวทางที่จะใช้เป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติอย่างมีจริงใจทั้ง “บริษัท” และ “คนกลาง” เพื่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงการคุ้มครองสิทธิอันควรแก่ผู้บริโภค หรือประชาชนในอนาคตให้มากขึ้นมาตลอดเช่นกัน

ล่าสุดการประชุมร่วมกันครั้งนี้ก็มีการหยิบประเด็นนี้มากระตุกกระตุ้นกันต่อกับการ “ควบคุมความเสี่ยง” ที่มาจากพฤติกรรมอันไม่เหมาะไม่ควรและสร้างความเสื่อมเสียให้กับ “ผู้ร่วมอาชีพ” ของผู้เข้ามาเป็นนายหน้าและตัวแทนในธุรกิจประกันภัยทั้ง “ชีวิต” และ “วินาศภัย” รวมถึงความเสียหายของบริษัทเองได้อีกครั้ง

โดยครั้งนี้มีความเห็นที่ตรงกันทั้ง “สมาคมบริษัท” และ “สมาคมนายหน้า” กับ “สมาคมตัวแทน” ที่เห็นด้วยกับการจะใช้มาตรการด้วยบวกโดยให้เชิดชู “คนดี” หรือผู้มีไฟนำทางเป็น “สีเขียว” ซึ่ง สีเขียว คือ คนไม่มีประวัติ  สีเหลือง คนที่กำลังถูกตรวจสอบ  ส่วนสีแดง คือ คนที่มีคดีถูกยึดใบอนุญาตห้ามเป็นนายหน้าหรือตัวแทน 5 ปี กันแทน แต่ยังไม่ไปแตะคนที่อยู่ในกลุ่ม “สีแดง” และ “สีเหลือง”

 แต่ในภาพของคนที่อยู่ในกลุ่ม “สีเหลือง” กับ “สีแดง” นั้นยังไม่ถึงกับตกผลึกเป็นแนวทางที่จะนำมาเป็นมาข้อปฏิบัติร่วมกันว่า “ภาคบริษัท” ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดโดย CEO” หรือประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแต่ละบริษัท จะเอาด้วยรึป่าว เพราะในความจริงของประกันภัยบ้านเราตอนนี้ยังเป็นลักษณะ “หลับตาข้างหนึ่ง” อยู่ ซึ่งนั่นเป็นที่รู้กันด้วยเหตุผลของ “การบริหารแบบ KPI” ซึ่งเหมือนจะตรงกันข้ามกับความหมายของ “ความยั่งยืน” ตามเจตนารมณ์ของสำนักงาน คปภ.

ตามที่วันนี้หัวข้อใหญ่เมนหลักการประชุมผู้บริหารระดับสูงด้านการประกันภัย ประจำปี 2566 (CEO Insurance Forum 2023) นำมาเป็นแนวทางเพื่อนำไปสู่ “การประกันภัยยั่งยืน” แต่อย่างใด…ดังนั้นการประชุม CEO Insurance Forum 2023 ครั้งสุดท้ายของ “สำนักงาน คปภ.” ภายใต้การนำของ “ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ” ครั้งที่ 7 นี้ จึงเหมือนเป็นแค่การกระตุ้นกระตุก “ฝัน” ของอุตสาหกรรมประกันภัยไทยว่าจะเป็นจริงได้หรือไม่…

เพราะการขับเคลื่อนจะเกิดขึ้นจริงๆ ได้หรือไม่นั้น ยังเป็นเรื่องที่ “ประชาชน” ยังคาดเดาอย่างเห็นภาพไม่ค่อยชัดว่า จะเป็นแค่ความฝันที่ตื่นขึ้นแล้วก็หายไป (สุทธิพลจากไปแล้วก็หายไป) หรือจะเป็นความฝันที่เป็นจริงขึ้นมาได้ ซึ่งตรงนี้จะเกิดขึ้นก็ได้ก็ต่อเมื่อ “เหล่าCEO” ส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมประกันภัยไทยเรานี้ “เอาด้วย” เท่านั้น!!

ซึ่งคงจะหมายรวมถึง “ทุกหัวข้อ” ที่มีการประชุมทั้งหมดใน 3 กลุ่มย่อยด้วยว่าเอาเข้าจริงๆ การ

“บริหารความเสี่ยง” ของ “เหล่า CEO” ที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ไป จะเป็นไปได้ขนาดไหนกับ “แนวทาง” มีการพูดคุยกันเป็นวันๆ (จนแทบไม่ได้ทานข้าวกลางวัน) กันในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา

 จะว่าไปแล้วมันคงไม่ใช่มาตรการที่จะออกมาเพื่อ “ห้ามย้ายค่าย” แต่น่าจะเป็นปมประเด็นเรื่องของการ “รีครูทแบบไม่ลืมหูไม่ตา” มากกว่า เพราะหาก “บริษัท” มีการตรวจสอบที่มาที่ไปของคนที่จะมาร่วมงานอย่างจริงจังโดยยึดมั่นหลักการ “เพื่อความยั่งยืน” กันแล้ว คงไม่แบะท่าอ้าแขนรับ “คนมีชนัก” (ติดหลัง) กันอย่างแน่นอน

 ข้อสำคัญมีประเด็นที่ถูกขุดคุ้ยคุยกันเป็นข่าวมาตลอดถึงการพิจารณาอย่าง “ถูกต้อง” ขององค์กรสมาคมหน่วยงานต่างๆ กับการมอบรางวัลอันทรงเกียรติให้กับ “คนกลางประกันภัย” ที่บางคนก็ยังสวมเสื้อไม่ใช่ “สีเขียว” แต่เป็นเบลอๆ ออกไปทางสว่างแป๊ดๆ เดินขึ้นเวทีไปรับมอบรางวัลด้วยซ้ำ!!

 ซึ่งจะว่าไป…องค์กรสมาคมหน่วยงานต่างๆ เหล่านั้นก็คงทำงาน “ยากมาก” กับการจะตรวจสอบคุณสมบัติอันทรงเกียรติของ “คนกลาง” เหล่านั้นให้ถูกต้องได้…เพราะผู้ที่เดินขึ้นเวทีล้วนได้รับการประทับตรารับรองโดยบริษัท โดยผู้มีอำนาจ และผู้มีอำนวจสูงสุดที่ต้องรู้เห็นทุกการเป็นไปของบริษัทนั้นก็คือ CEO นั่นเอง.-

 

เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....