ทำความรู้จักประสิทธิภาพ “วัคซีนโควิด – 19” แต่ละยี่ห้อ และ ใช้อย่างแพร่หลายในประเทศใดบ้าง       

Credit Photo: www.yalemedicine.org

ในช่วงนี้ที่ใครๆ ก็ยังลังเลว่าจะรับการฉีดวัคซีนโควิด – 19 หรือไม่ฉีดดี แล้ววัคซีนยี่ห้อไหนที่ดีกว่า หรือมีประสิทธิภาพมากกว่ากันแน่ คำถามเหล่านี้ก็ยังเป็นที่กังวลของใครหลายคน ไม่ใช่เฉพาะแค่คนไทยแต่มันเกิดขึ้นไปทั่วโลก ดังนั้น บทความนี้ได้รวบรวมวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก และมีการพัฒนาเฟสต่อเฟสอย่างต่อเนื่อง มาให้รู้จักกันในแต่ละยี่ห้อและประสิทธิภาพของวัคซีนที่ได้รับการรับรองจากองค์กรระดับโลก   

ยิ่งในช่วงนี้ทั่วโลกไม่ได้กังวลแค่ไวรัส COVID-19 สายพันธุ์อังกฤษอย่างเดียว เพราะเมื่อไม่นานมานี้มีไวรัส COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อว่า ‘สายพันธุ์เบงกอล’ ที่ระบาดเร็วและแรงกว่าเดิม ดูได้จากวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศอินเดียตอนนี้ได้

และถึงแม้ว่าจะมีข่าวออกมาให้เห็นกันบ้างถึงผลกระทบหลังจากที่ได้รับวัคซีน โควิด – 19 แต่ต้องยันยันว่า “ประสิทธิภาพของวัคซีนที่ฉีดป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 มีมากกว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน” ซึ่งเป็นการการันตีจากทีมแพทย์ในหลายๆ ประเทศ รวมไปถึง องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drung Administration: FDA)

เรามาทำความรู้จักกับวัคซีนโควิด – 19 ยี่ห้อต่างๆ กันว่า ประสิทธิภาพของวัคซีน-19 เป็นอย่างไร และถูกใช้อย่างแพร่หลายในประเทศใดบ้าง

Cr.https://www.voathai.com/a/pfizer-fda-data-ct/5692577.html

Pfizer-BioNTech – เป็นวัคซีนจากบริษัทของสหรัฐอเมริกา (Pfizer) ที่พัฒนาร่วมกับบริษัท BioNTech ประเทศเยอรมนี   ซึ่งเคยได้รับผลรับรองจาก FDA ว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด 95% ทั้งยังเป็นวัคซีนตัวแรกที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินในสหรัฐฯ (Emergency Use Authorization: EUA) เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2020

ทั้งนี้ ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า กว่า 44 ประเทศทั่วโลกที่ได้แนะนำประชาชนในประเทศรับการฉีดวัคซีนจาก Pfizer-BioNTech ซึ่งขณะนี้มีหลายประเทศทั่วโลกที่ import วัคซีนตัวนี้และใช้กับประชาชนแล้ว เช่น แคนาดา, สหรัฐฯ, ชิลี, สิงคโปร์, ประเทศในแถบตะวันออกกลาง, สหราชอาณาจักร, ญี่ปุ่น, เปรู, เม็กซิโก, ออสเตรเลีย ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม วัคซีน Pfizer-BioNTech มีเงื่อนไขที่ค่อนข้างเข้มงวดในการใช้วัคซีนให้ได้ประสิทธิภาพตามที่ควรจะเป็น เช่น บรรจุภัณฑ์ต้องมีความเย็นติดลบ -94 องศา และเหมาะสมกับการใช้กับผู้ที่มีอายุมากกว่า 16 ปีขึ้นไป เป็นต้น โดยทีมแพทย์สหรัฐฯ เคยระบุว่า วัคซีนยี่ห้อนี้ใช้เทคโนโลยีค่อนข้างใหม่ ไม่ใช่แค่นำเชื้อ COVID-19 ที่ตายแล้ว หรืออ่อนแอเท่านั้น แต่จะมีการปรับแต่งพันธุกรรมให้เป็นเซลล์ขนาดเล็กลง เพื่อให้สามารถเข้าไปในร่ายกายมนุษย์ดีขึ้น

Cr.https://www.voathai.com/a/moderna-covax-vaccine-donation-sweden-astrazeneca/5876441.html

Moderna – วัคซีนจากบริษัทในสหรัฐฯ ซึ่งได้รับการยอมรับจากหลายประเทศเช่นเดียวกัน ทั้งยังเป็นวัคซีนที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินในสหรัฐฯ ได้ด้วย และแน่นอนว่าได้รับการรับรองจาก FDA ของสหรัฐฯ

ที่สำคัญวัคซีน Moderna ใช้เทคโนโลยีปรับแต่งพันธุกรรมเชื้อ COVID-19 เหมือนกับ Pfizer-BioNTech ดังนั้น ระดับการเกิดประสิทธิภาพมีความใกล้เคียงกับ Pfizer-BioNTech อยู่ที่ 94.1% แต่ที่แตกต่างและน่าสนใจก็คือ วัคซีน Moderna สามารถจัดเก็บและจัดส่งได้ในระดับอุณหภูมิช่องแช่แข็งในตู้เย็น (-4 องศา) และสามารถจัดเก็บได้นาน 30 วัน

ทั้งนี้ เคยมีการทดลองในแล็บของ Moderna ด้วยการใช้วัคซีนในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ผลปรากฏว่าประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์น้อยกว่า 94% ดังนั้นพูดได้ว่า วัคซีน Moderna เหมาะกับกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์

โดยประเทศที่ประกาศใช้วัคซีน Moderna แล้ว เช่น ฝรั่งเศส, สิงคโปร์, สหราชอาณาจักร, สหรัฐฯ เป็นต้น แต่ขณะเดียวกันก็มีอีก 16 ประเทศที่ยกเลิกการใช้วัคซีนยี่ห้อนี้ นำโดย ฮังการี, โปแลนด์, โรมาเนีย, เบลเยี่ยม, กรีซ, ไอร์แลนด์, เอสโตเนีย, ไซปรัส, ลักเซมเบิร์ก ฯลฯ ด้วยเหตุผลที่ว่า ผลกระทบที่เกิดจากการฉีดวัคซีนอันตรายเกินไป เช่น อาการแพ้แดงตามตัว จนหายใจไม่สะดวก เป็นต้น

Cr.https://abcnews.go.com/Health/us-begins-rollout-johnson-johnson-coronavirus-vaccine/story?id=76167161

Johnson & Johnson – วัคซีน Johnson & Johnson ของบริษัทอเมริกัน ซึ่งทีมแพทย์ของสหรัฐฯ ลงความเห็นชัดเจนว่า ประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ที่ 72% (แต่สูงสุดที่ 86%) แต่ที่ผ่านมามีหลายประเทศในโซนยุโรปที่ประกาศแบนนำเข้าวัคซีนยี่ห้อนี้ไปก่อน เพราะผลข้างเคียงที่เกิดอันตรายได้ นั่นก็คือ ‘ลิ่มเลือด’ ที่เกิดในระหว่างการรักษา ซึ่งเคยมีระบุว่าเกิดขึ้นในบางเคสที่เป็น ‘ผู้หญิง’ อายุระหว่าง 18-48 ปี

หากพูดในแง่การเก็บรักษา วัคซีน Johnson & Johnson สามารถเก็บรักษาได้ง่ายกว่าแค่อุณหภูมิความเย็นในตู้เย็น และฉีดเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

ทั้งนี้ ช่วงปลายเดือน ก.พ ผลการวิเคราะห์ของ FDA ระบุว่า วัคซีน Johnson & Johnson สามารถยับยั้งเชื้อ COVID-19 ได้จริงเพียงแต่เกิด effect ต่อผู้รับวัคซีนมากเกินไป อย่างไรก็ตาม ในสหรัฐฯ ยังมีการใช้วัคซีนยี่ห้อนี้ในบางรายในปัจจุบัน รวมถึงในบางประเทศด้วย เช่น บาห์เรน (ฉีดในกรณีฉุกเฉิน), เกาหลีใต้ (กำลังพิจารณานำเข้า), แอฟริกาใต้ (ฉีดในกรณีฉุกเฉิน), โคลอมเบีย (ฉีดในกรณีฉุกเฉิน), ฟิลิปปินส์ (ฉีดในกรณีฉุกเฉิน) เป็นต้น

Cr.https://www.bbc.com/news/health-56479462

AstraZeneca – วัคซีนที่ผลิตจากบริษัทในอังกฤษ ซึ่งใช้เทคโนโลยี Adenovirus-vectored หรือเอายีนของไวรัสที่ทำให้เกิด COVID-19 ใส่เข้าไปใน Adenovirus โดยพัฒนาวัคซีนร่วมกับมหาวิทยาลัย Oxford และใช้การทดลองด้วยลิงชิมแพนซี หรืออธิบายง่ายๆ ก็คือ เทคโนโลยีในวัคซีนยี่ห้อนี้จะใช้เชื้อ COVID-19 ที่ยังเป็นๆ แต่ให้มาทำปฏิกิริยาบางอย่างกับร่างกาย ดังนั้น วัคซีนชนิดนี้จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอยู่แล้ว เพราะอาจจะไม่สามารถต้านเชื้อได้จริงๆ ตามประสิทธิภาพที่ควรเป็น

โดยทางการแพทย์ของอังกฤษที่ทำการทดลอง ระบุว่า ประสิทธิภาพในการรักษาของวัคซีน AstraZeneca อยู่ที่ประมาณ 84% (สูงสุด) และจะมีประสิทธิภาพต่ำลง (79%) หากคนที่รับวัคซีนเกิดไม่สามารถสร้าง Antibody ได้เหมือนคนทั่วไป

ทั้งนี้ ข้อดีก็คือ วัคซีน AstraZeneca สามารถขนส่งได้ง่ายในอุณหภูมิตู้เย็นปกติ โดยประสิทธิภาพของวัคซีนจะอยู่ได้นานถึง 6 เดือนด้วย และในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ได้รับการยอมรับใช้วัคซีนยี่ห้อนี้ เช่น ออสเตรเลีย, บราซิล, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อินเดีย, ฟิลิปปินส์, ปาปัวนิวกินี, ซาอุดิอาระเบีย, เกาหลีใต้ ฯลฯ แต่ก็มีอีกหลายประเทศที่ประกาศหยุดใช้วัคซีนนี้ชั่วคราวแล้ว เช่น แอฟริกาใต้ หรือแม้แต่ในอังกฤษก็ตาม

Cr.https://www.pharmaceutical-technology.com/news/uae-approves-sputnik-v/

Sputnik V – วัคซีน Gam-Covid-Vac หรือในชื่อเครื่องหมายการค้า Sputnik V จากแดนหมีขาว นับว่าเป็นวัคซีนต้าน COVID-19 ชนิดแรกของโลกที่พัฒนาโดยสถาบันวิจัยโรคติดต่อและจุลชีววิทยาแห่งชาติกามาเลยา กรุงมอสโกของรัสเซีย (National Epidemiology and Microbiology Research Center Named After Gamaleya)

และหลายๆ คนก็น่าจะคุ้นหูจากข่าวมาก่อนหน้านี้ หลังจากที่รัฐบาลไทยปิดดีลเจรจากับรัสเซียเตรียมจะนำเข้ามา ทั้งนี้ในวารสารชื่อดัง Lancet เคยระบุไว้ว่า วัคซีนของรัสเซียตัวนี้มีประสิทธิภาพช่วยป้องกัน COVID-19 ได้ประมาณ 91.6%

แต่จริงๆ แล้วไม่ตรงกับข้อมูลของ ศูนย์วิจัยแห่งชาติฯ Gamaleya ซะทีเดียวเพราะระบุว่า วัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพช่วยป้องกันได้ถึง 97.6% และประเมินว่ามีประสิทธิภาพถึง 100% สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง จากอาสาสมัคร 30,000 คนที่เข้าร่วมการทดลองในเฟส 3 ของแล็บศูนย์วิจัยแห่งชาติฯ Gamaleya

ทั้งนี้ วัคซีนชนิดนี้ใช้หลัก AAV (Adeno-Associated Virus) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างล้ำสมัยอีกชนิดหนึ่ง ระบบการทำงานคือ จะตัดส่วนพันธุกรรมของ COVID-19 ที่ใช้จำลองตัวเองออกไปใส่ Adenovirus อีกตัว แล้วฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อให้ร่างกายกระตุ้นภูมิมากขึ้น

ปัจจุบันวัคซีน Sputnik V ถูกประกาศใช้ (และกำลังจะใช้) ในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก โดยจะเป็นการใช้แบบกรณีฉุกเฉิน เช่น อินเดีย, ฟิลิปปินส์, กรีซ, อาร์เจนตินา, ฮังการี, รัสเซีย, สปป.ลาว, เวียดนาม, เมียนมา เป็นต้น

Sinovac – วัคซีน Sinovac ที่ผลิตมาจากบริษัทในจีน เคยถูกนักวิจัยจากสถาบัน Butantan Institute ศูนย์วิจัยทางชีววิทยาและผู้ผลิตวัคซีนในรัฐเซาเปาลูของบราซิล ระบุว่า เป็นวัคซีนที่เกิดประสิทธิภาพที่ค่อนข้างต่ำ ประมาณ 50.65% สำหรับผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ และมีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่เคยทดสอบมา ประมาณ 78%

ส่วนนักวิจัยทดลองในตุรกี ระบุว่า วัคซีนชนิดนี้สามารถมีประสิทธิภาพได้สูงสุดถึง 91.25% หากใช้กับกลุ่มผู้ติดเชื้อที่แสดงอาการ (แต่ไม่รุนแรง)

ทั้งนี้ วัคซีน Sinovac ที่ทดสอบในเฟส 3 มีหลายประเทศที่นำเข้าและใช้วัคซีนยี่ห้อนี้ ได้แก่ บราซิล, ตุรกี, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ ฯลฯ

ทั้งหมดที่รวบรวมมานำเสนอนี้นับเป็น วัคซีนที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก และมีการพัฒนาเฟสต่อเฟสอย่างต่อเนื่อง แต่จริงๆ แล้วยังมีวัคซีนอีกหลายชนิดที่กำลังอยู่ในช่วงทดสอบ และใช้ไปแล้วในบางกลุ่มของประเทศนั้นๆ ที่พัฒนา เช่น วัคซีน Novavax (สหรัฐฯ), วัคซีน Sinopharm (จีน),  วัคซีน Covaxin (อินเดีย), วัคซีน EpiVacCorona (รัสเซีย) และ วัคซีน ChulaCov19 ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ของไทยเราเอง ซึ่งในอนาคตคาดว่าจะเห็นวัคซีนอีกหลากหลายยี่ห้อมากขึ้น อย่างน้อยๆ ยิ่งมีวัคซีนมาก การยับยั้งการแพร่ระบาด COVID-19 แบบตรงจุดก็สูงมากเท่านั้น

เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!.... เพิ่มเพื่อน