1️⃣Retirement Spending
ต้องการใช้เงินหลังเกษียณปีละเท่าไหร่ ประเมินปีแรกและปีต่อ ๆ ไปตลอดช่วงชีวิตหลังเกษียณ เราใช้เงินเท่าเดิมตลอดชีวิตจริงหรอ? ใช้อัตราเงินเฟ้อกี่มากน้อย เป็นค่าคงที่ตลอดหรือไม่?
คำแนะนำ แยก Needs กับ Wants ออกจากกันให้ชัดเจน(จะแบ่งเพิ่มเป็น Core กับ Adaptive ให้ละเอียดขึ้นอีกก็ได้) เพราะใช้เครื่องมือทางการเงินไม่เหมือนกัน
NEEDS แบ่งเป็น Basic living Expenses & Medical Expenses เป้าหมายเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้
WANTS เป้าหมายเพื่อให้ชีวิตมีสีสรร เป็นการใช้ชีวิต ไม่ใช่แค่มีชีวิต
2️⃣Retirement Horizon
นานแค่ไหน? หรือถามง่าย ๆ ว่า จะตายเมื่อไหร่? อายุขัยเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม? บ้านเราไม่มีเครื่องมือทางการเงินแบบปลายเปิด คือ สร้างรายได้แบบชั่วนิรันดร (Guaranteed Lifetime Income) ดังนั้น จึงต้องกำหนดอายุขัยแบบเจาะจง
คำแนะนำ ควรใช้อายุขัยอย่างน้อย 90 ปีหรือมากกว่า อเมริกาคิดไกลถึงอายุ 120 ปีแล้ว และบ้านเรามีแค่ Guaranteed Income ไม่มี Lifetime ก็คือ ประกันบำนาญ สามารถยืดระยะเวลารับเงินได้ด้วยเทคนิค ALM(สนใจ ทักมา)
3️⃣Withdrawal/Distributions Strategy
จะถอนเงินด้วยวิธีไหน หรือเลือกใช้เครื่องมือแบบใด ใช้กลยุทธ์ในการสร้างรายได้หลังเกษียณแบบไหน เป็นเรื่องที่สำคัญ บ้านเราเน้นการลงทุน และ ใช้วิธีที่ฝาหรั่งเรียกว่า Dollar Plus Inflation ซึ่งควรจะเรียกใหม่ว่า Baht Plus MEflation จะเหมาะสมกับบ้านเรามากกว่า กับ 3 Buckets ก็เริ่มมีใช้กันบ้างแต่ไม่แพร่หลายเท่า
คำแนะนำ FPA(Financial Planning Association of America) ได้สรุปกลยุทธ์ในการถอนเงิน(สร้างรายได้หลังเกษียณ)ไว้ 3 กลยุทธ์ คือ
a)Systematic withdrawal approach เช่น Dollar Plus Inflation
b)Time-Based Segmentation เช่น 3 Buckets
c)Income Floor Plan ใช้ Annuity
แต่ละกลยุทธ์ แบ่งออกเป็นหลายสิบวิธี ส่วนผมใช้ข้อ b & c ในการวางแผนฯให้ลูกค้า
4️⃣Expected Return
ผลตอบแทนคาดหวัง(มโน)เพื่อใช้ในการลงทุน แปลว่า หลังเกษียณก็ต้องลงทุน แต่ต้องมีกลยุทธ์การถอนเงินก่อนที่จะลงทุน กลยุทธ์จะเป็นตัวกำหนดวิธีการลงทุน โดยใช้ ผลตอบแทนมโนที่ ผู้รับการวางแผน ยอมรับได้ ภายใต้คำแนะนำของ ที่ปรึกษาฯ
คำแนะนำ ผตท.มโนส่วนใหญ่จะแปรผันตามระยะเวลาการลงทุน และวิธีการลงทุนที่ต่างกันคือ DCA/Reverse-DCA กับ LumpSum ก็มีความเสี่ยงต่างกัน จาก Sequencing Risk ทำให้ต้องใช้ทักษะของผู้บริหารเงินลงทุน
5️⃣Retirement Risks
ความเสี่ยงหลังเกษียณมี 18 ตัว 5 กลุ่มตามนิยามของ The American College of Financial Services เราควรชำเลืองมองบ้าง และวางแผนป้องกันความเสี่ยงเหล่านี้
คำแนะนำ ผมเลือกความเสี่ยงที่สำคัญไว้ 7 รายการที่ต้องรู้ และหาวิธีป้องกัน และเขียนเป็นบทความไว้ตามนี้
อ่านจบแล้วถามตัวเองว่า มีวิธีป้องกันความเสี่ยงที่ว่าไว้หรือไม่? อย่างไร?
6️⃣Financial Tools
หลังเกษียณควรใช้เครื่องมือทางการเงินที่นำมาใช้ในการวางแผนฯเกษียณที่ครอบคลุม ครบถ้วน เพราะ การวางแผนฯเกษียณคือการ Matching ภาระที่คาดว่าเกิดขึ้น(Liabilities) กับ เครื่องมือ(Tools) ต่าง ๆ เราไม่ควรใช้ ไขควง เพียงอย่างเดียวในการสร้างบ้านทั้งหลัง ทั้ง ตอกตะปู เลื่อยไม้ เจาะรู ขันน็อต ฯลฯ เราควรใช้เครื่องมือฯให้ครบถ้วน เพื่อรองรับ Liabilities ที่เกิดขึ้นทั้งหมด
คำแนะนำ ใครเจอคำแนะนำให้ใช้ UnitLinked ทำได้ทุกอย่าง สร้างบ้านได้ทั้งหลัง ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าเหมาะสมหรือไม่ แต่คงเป็นเรื่องยากที่จะวิเคราะห์ เพราะ ขาด Retirement Literacy
7️⃣Monitoring
แผนเกษียณที่แนะนำ ต้องติดตาม ดูแล มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะ แผนที่มีการลงทุนแบบ DCA & Reverse-DCA เพราะมีความผันผวนสูงกว่า ซับซ้อนกว่า แบบ LumpSum ดังนั้น ต้องพิจารณาเพิ่มเติมว่า ที่ปรึกษาที่เราคุยด้วย สามารถติดตาม ดูแล แผนเกษียณที่ออกมาให้ ให้สำเร็จได้ตลอดช่วงชีวิตหลังเกษียณของเราหรือไม่(> 20ปี)
คำแนะนำ แผนเกษียณที่ซับซ้อน มีการลงทุนเป็นหลัก ต้องการ การติดตาม ดูแลที่เข้มงวดกว่า จึงต้องคิดให้ถี่ถ้วนว่า ในทางปฏิบัติเป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าโดนเท เราจะดูแลตัวเองได้หรือไม่ ที่ปรึกษาก็เป็นคน ไม่รู้ใครจะไปก่อน
น่าจะหมดแล้ว ถ้าตอบคำถามทั้ง 7 ข้อข้างต้นได้ ก็น่าจะเป็นแผนเกษียณที่ปลอดภัย ใครตอบข้อไหนไม่ได้ ทักมา เผื่อช่วยได้ครับ
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
ทีมงาน INN WHY? รายการเพื่อผู้บริโภค ร่วมปฏิวัติความคิด ปรับเปลี่ยนชีวิต ก้าวสู่ความมั่นคง หลังเกษียณ
ติดตามเราได้ที่ไลน์แอด @INNWHY.TV หรือ Facebook.com/INNWHY.TV และ Youtube.com/c/innwhy
Contact us : INNWHY31@gmail.com