ตามความเห็นของเอสแอนด์ พี โกลบัล เรตติ้ง บริษัทประกันภัยต่อในเอเชีย เจอความท้าทายมากขึ้น ทั้งในด้านการกำหนดราคา ผลกระทบที่ยากต่อการคาดการณ์จากการเปลี่ยนแปลงของเมืองและสภาพภูมิอากาศ และมีความจำเป็นต้องกระจายความเสี่ยง
ในช่วงสามปีที่ผ่านมา บริษัทประกันภัยต่อในเอเชียมีอัตราผลตอบแทน และส่วนแบ่งตลาดลดลง โดยจากผลการศึกษาบริษัทประกันภัยต่อ 18 แห่ง ส่วนแบ่งตลาดเฉลี่ยรวมกัน เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 102% .ในปี 2561 จาก 97% ในปี 25559 ในขณะที่กำไรสุทธิลดลงประมาณหนึ่งในสี่เฉพาะในปี 2561 เพียงปีเดียว นอกจากนี้ผลตอบแทนต่อหุ้นลดลงจากเกือบ 6%ในปี 2559 เหลือไม่ถึง 2% ในปีที่ผ่านมา ค่าเฉลี่ยนี้ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น(RoE)ของบริษัทไทยรีซึ่งติดลบ 23.9% หากไม่รวมตัวเลขนี้ RoE มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.7%
ผลประกอบการที่ลดลงนี้ส่วนหนึ่งเป็นไปตามวงจรเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน เป็นผลจากตลาดการลงทุนผันผวน ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติตามระเบียบสูงขึ้นเนื่องจากมีการทำระเบียบให้เป็นสากล และเกิดภัยธรรมชาติขนาดใหญ่จำนวนหนึ่ง
อย่างไรก็ดี เอสแอนด์พี มองว่า มีความท้าทายเชิงโครงสร้างเช่นกัน โดยมาในรูปของการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นจากทุกด้าน ปัญหาทางเทคโนโลยี ที่มีต่อโมเดลธุรกิจ และกระแสโลกาภิวัตน์ของผู้เล่นในระดับภูมิภาค
ตัวอย่างเช่น บริษัท ไชน่ารี เข้าถือสิทธิ์ใน Chaucer เมื่อปลายปี 2561 และซัมซุง ไฟร์ แอนด์ มารีน มีแผนเข้าถือหุ้นใน Canopius ธุรกรรมเหล่านี้สะท้อนว่า บริษัทประกันภัยทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะกระจายการลงทุนไปทั่วโลกเพื่อหาทางลดความเสี่ยง
บริษัทประกันภัยต่อในญี่ปุ่นมีส่วนมากที่ทำให้เกิดกิจกรรม เช่นในขณะนี้ เช่น บริษัท GIC Re ในอินเดีย ได้พยายามขยายกิจการเช่นกัน โดยในเดือนกันยายนที่ผ่านมา GIC Re ได้เปิดเผยว่า สนใจที่จะจัดตั้ง บริษัทลูกในรัสเซีย หลังจากที่ ได้เปิดสำนักงานสาขาไปแล้ว นอกจากนี้ยังกำลังสำรวจความเป็นไปได้ที่จะตั้งสำนักงานในบราซิลเพื่อรองรับตลาดอเมริกาใต้
GIC Re ยังมีที่นั่งในลอยด์ในลอนดอนโดยผ่านบริษัท GIC Syndicate 1947 นับตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา และยังมีสำนักงานสาขาในดูไบ และมาเลเซียด้วย
เชื่อว่า บริษัทประกันภัยต่อในเอเชียที่เคยเน้นตลาดในประเทศ จะต้องเคลื่อนไหวตามบริษัทเหล่านี้ แต่การบริหารความเสี่ยงต่อธุรกิจที่ได้กระจายการลงทุนออกไปทั่วโลก จะนำมาซึ่งความท้าทายด้วยตัวของมันเองเช่นกัน
อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงที่ยังไม่มีตัวอย่างให้เห็นที่เกิดจากการเกิดสังคมเมืองอย่างรวดเร็ว และการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ ก็สร้างโอกาสใหม่ๆเช่นกัน และที่สำคัญบริษัทประกันภัยต่อ ยังต้องลงทุนทางเทคโนโลยีเพื่อต่อสู้กับการแข่งขันจากต่างประเทศ
เอสแอนด์พี กล่าวว่า บริษัทประกันภัยต่อในเอเชียแปซิฟิกจำเป็นต้องเตรียมใช้เทคโนโลยีที่แข็งแกร่งมากขึ้นในการปฏิบัติงาน เช่น เข้าถึงลูกค้าใหม่ผ่านอี-แชแนล เสนอผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อจับแลนสเคปที่มีวิวัฒนาการไปหรือ ต้องบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
มีตัวอย่างจำนวนหนึ่งเช่น มีการใช้โดรนและดาวเทียมเพื่อวิเคราะห์การประกันภัยพืชผล และกำหนดมูลค่าเพื่อให้เกษตรกรได้ป้องกันอย่างเหมาะสม หรือพัฒนากลไกในการติดตามสภาวะอากาศที่สามารถจำกัดการขาดทุนของลูกค้าเกษตรกรได้
อย่างไรก็ดี บริษัทประกันภัยต่อหลายแห่งได้เน้นไปที่การลดต้นทุนมากกว่า เพราะการอัพเกรดเทคโนโลยีไม่ได้มีราคาถูก และแน่นอนว่า แม้การลงทุนไม่ใช่ต้นทุน แต่ก็สามารถบีบคั้นการลงทุนที่มองหากำไรระยะสั้นได้
บริษัทรับทำประกันภัยต่อ ยังได้พยายามเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทเทคโนโลยี โดยได้ดึงให้บริษัทเทคโนโลยีมาเป็นผู้ถือหุ้น เหมือนที่ ไชน่า รี ได้ทำกับไชน่า คอนติเนนต์
แม้ว่ากฏระเบียบต่างๆสามารถคุ้มครองบริษัทประกันภัยต่อในเอเชีย ได้ แต่ในท้ายที่สุด บริษัทเหล่านี้ก็จำเป็นที่จะต้องเสนอขายบริการและผลิตภัณฑ์ที่สามารถแข่งขันได้
S&P เตือนว่า บริษัทประกันภัยต่อในเอเชีย จะต้องมีวิวัฒนาการ ไม่เช่นนั้นจะมลายหายไป
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
ทีมงาน INN WHY? รายการเพื่อผู้บริโภค ร่วมปฏิวัติความคิด ปรับเปลี่ยนชีวิต ก้าวสู่ความมั่นคง หลังเกษียณ
ติดตามเราได้ที่ไลน์แอด @INNWHY.TV หรือ Facebook.com/INNWHY.TV และ Youtube.com/c/innwhy
Contact us : INNWHY31@gmail.com