จับทิศจับทางพัฒนาการของตลาดประกันเอเชีย ในปี 2563
ปีใหม่จะมีความประหลาดใจมาสู่ตลาดประกันในเอเชียอย่างไม่ต้องสงสัย มาดูกันว่าตลาดใดบ้างที่จะมีพัฒนาการด้านระเบียบที่สำคัญที่คาดว่าจะได้เห็นในปีนี้
จีน
จีนอนุญาตให้ต่างชาติลงทุนเพิ่มอีกในปีนี้ โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมต่างชาติสามารถถือหุ้นในบริษัทประกันชีวิตร่วมทุนได้ 100% จึงคาดว่าน่าจะกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในภาคประกันมากขึ้น และคาดว่าจะมีบริษัทประกันตั้งบริษัทโฮลดิ้งประกันที่มีต่างชาติถือหุ้นทั้งหมดตามอย่างบริษัท อัลลิแอนซ์
บริษัทประกันต่างชาติ จะเตรียมตัวรับมือกับเฟส สองของ ระบบ Oriented Solvency System (C-ROSS) ซึ่งเป็นกรอบการทำงานด้านระเบียบที่เน้นความเสี่ยงใหม่สำหรับอุตสาหกรรมประกันของจีน ระบบนี้จะนำมาใช้ในเดือนมิถุนายน ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีค่าต้นทุนความเสี่ยงสูงที่สูงขึ้น
มูดีส์ คาดว่าบริษัทประกันแต่ละแห่งจะต้องปรับตัวเช่น เปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ในการเติบโต เพื่อซื้อประกันภัยต่อและลดผลกระทบต่อเงินทุน
อย่างไรก็ตาม บริษัทประกันในจีนได้เตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงแล้ว โครงสร้างเงินทุนในอุตสาหกรรมประกันมีความแข็งแกร่ง โดยมีอัตราส่วนความอยู่รอด 279% เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2562 ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559
นอกจากนี้ บริษัทประกันภัยจีนยังอาจเผชิญกับความเป็นไปได้ที่จะมีการเปิดเสรีในการกำหนดราคารถยนต์เพิ่มเช่นกัน
อินเดีย
การควบรวมของบริษัทประกันภัยของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยบริษัท เนชันแนล อินชัวรันซ์ ยูไนเต็ด อินเดีย และโอเรียนทอล อินชัวรันซ์ อาจเสร็จสิ้นลงในปีนี้แม้ว่าบริษัทเหล่านี้ต้องการเงินทุนเพิ่มก่อนที่ข้อตกลงจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าเพื่อสร้างความมั่นใจว่าบริษัทที่ควบรวมกันแล้วจะสามารถทำตามเกณฑ์ความอยู่รอดของบริษัทได้
รัฐบาลอินเดียน่าจะเสนออัดฉีดเงินทุนในงบประมาณที่จะเปิดเผยในเดือนกุมภาพันธ์ แต่ยังต้องดูว่าการควบรวมจะรวดเร็วเพียงใดและจะมีการเสนอขายหุ้นแก่สาธารณะชนเป็นครั้งแรก(ไอพีโอ)ในเวลาต่อมาหรือไม่
ส่วนเรื่องข้อกำหนดด้านเงินทุน หน่วยงานในการพัฒนาและดูแลระเบียบประกันของอินเดีย ได้ประกาศแผนการที่จะหันไปใช้ระเบียบการดํารงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (Risk Based Capital)โดยคาดว่าจะมีการเปิดเผยรายละเอียดในปีนี้
ฮ่องกง
บริษัทประกันในฮ่องกงกำลังรอพัฒนาการที่สำคัญในปีนี้ โดยจะมีการลงนามร่างกฎหมายที่สามารถทำให้หลักทรัพย์เชื่อมโยงกับการประกัน (insurance-linked securities (ILS)) กลายเป็นกฎหมาย ในช่วงไตรมาสแรก กฏหมายนี้จะสามารถทำให้บริษัทประกันสร้างเครื่องมือที่มีวัตถุประสงค์พิเศษที่สามารถออกพันธบัตรวินาศภัย พันธบัตรมรณะ (mortality bonds) ใบรับประกันความสูญเสียของอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ประกันภัยต่อ และการประกันที่มีหลักประกัน อื่นๆได้ ซึ่งหมายความว่า จะได้เห็นดีล ILS แรกของฮ่องกงในปีนี้ในขณะที่ฮ่องกงยังคงสามารถแข่งขันในฐานะศูนย์กลางประกันของเอเชีย
นอกจากนี้กรมการประกันฮ่องกงก็กำลังพัฒนากรอบการทำงานด้าน RBC ใหม่ให้กับอุตสาหกรรมประกันโดยได้ทำการศึกษาผลกระทบเชิงปริมาณเสร็จสิ้นแล้ว และกำลังสรุประเบียบเกี่ยวกับเกณฑ์เงินทุน Pillar 1 และได้มีการคาดการณ์ว่าจะมีกระบวนการหารือเพิ่มเติมในปีนี้ และดำเนินการได้ในปีหน้า
ตั้งแต่วันที่ 1มกราคมบริษัทประกันฮ่องกงจะต้องทำตามคู่มือใหม่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงบริษัทที่จะกระตุ้นให้บริษัทประกันสร้างเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อบ่งชี้ จับตา บริหารและบรรเทาความเสี่ยง
ญี่ปุ่น
หลังจากที่ได้เกิดความสูญเสียจากภัยธรรมชาติมากในปีที่ผ่านมา บริษัทประกันในญี่ปุ่นกำลังหวังว่าปีนี้จะสงบมากขึ้น กลุ่มบริษัทประกันรายใหญ่จะเข้าถือสิทธิ์สินทรัพย์ในต่างประเทศอย่างไม่ต้องสงสัยเพื่อชดเชยความเสี่ยงภายในประเทศ
ส่วนเรื่องระเบียบ สำนักงานบริการด้านการเงินของญี่ปุ่น (FSA) กำลังพิจารณาระบบความอยู่รอดตามมูลค่าทางเศรษฐกิจใหม่และจะเริ่มทำโครงการตรวจสอบในปีนี้และคาดว่าจะนำมาใช้ภายในปี 2568
สิงคโปร์
สิงคโปร์ได้ส่งเสริมภาคประกันมากในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาและเชื่อว่าจะมีพัฒนาการมากขึ้นในปีนี้ โดยได้มีการใช้ระเบียบ RBC 2 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
ในขณะที่ระบบ ILS ของฮ่องกงกำลังจะเกิดขึ้น การอนุญาตให้ทำ ILS ในสิงคโปร์จะหมดอายุลง มีความน่าสนใจว่าจะได้เห็นผู้ออกหลักทรัพย์มาทำโครงการนี้ในสิงคโปร์ต่อไปหรือไม่ หรือจะมีการต่อใบอนุญาตให้โครงการนี้หรือไม่.
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
ทีมงาน INN WHY? รายการเพื่อผู้บริโภค ร่วมปฏิวัติความคิด ปรับเปลี่ยนชีวิต ก้าวสู่ความมั่นคง หลังเกษียณ
ติดตามเราได้ที่ไลน์แอด @INNWHY.TV หรือ Facebook.com/INNWHY.TV และ Youtube.com/c/innwhy
Contact us : INNWHY31@gmail.com