คปภ. จับมือฟินเทคสร้างคนรุ่นใหม่พัฒนา InsurTech สู่เวทีสากล

เพิ่มเพื่อน

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) ร่วมงาน TFTA Forum ครั้งที่ 6 และปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “การประกันภัยและเทคโนโลยี ในมุมมองของหน่วยงานกำกับดูแล” เมื่อที่ 15 สิงหาคม 2562 ณ ชั้น 10 อาคาร Knowledge Exchange (KX Center)จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 โดยสมาคมฟินเทคประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “Insurtech เทคโนโลยีประกันภัย สะดวก มั่นใจ และเข้าถึง” ซึ่งสำนักงาน คปภ. ได้ให้การสนับสนุนเนื่องจากเป็นเวทีที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบการเข้าถึงการประกันภัยและการนำเทคโนโลยีประกันภัย มาเพิ่มประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมประกันภัยไทย อันจะตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานกำกับดูแล กลุ่มธุรกิจประกันภัย และกลุ่มเทคโนโลยีประกันภัย (InsurTech Startup) สมาคมประกันวินาศภัยไทย บริษัทประกันภัย Startup ตลอดจน Center of InsurTech, Thailand (CIT) โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาคธุรกิจประกันภัยและจาก Center of InsurTech Thailand หรือ CIT มาสะท้อนมุมมองและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องบทบาทของ InsurTech และความจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีประกันภัยเพื่อเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมประกันภัยไทย

ทั้งนี้ ตามกฎหมายกำหนดให้สำนักงาน คปภ. กำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทประกันภัยและคนกลางประกันภัยให้อยู่บนพื้นฐานความถูกต้องเป็นไปตามหลักกฎหมาย แม้ตามกฎหมาย คปภ. จะไม่ได้กำกับดูแล startups โดยตรง แต่มีความจำเป็นที่จะต้องให้การส่งเสริมสนับสนุนธุรกิจในกลุ่มนี้ เนื่องจากปัจจุบัน InsurTech ได้เข้ามามีบทบาทกับการประกันภัยมากขึ้น อาทิ การขายผลิตภัณฑ์ online และการแจ้ง claim online อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันธุรกิจประกันภัยไทยยังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไม่เต็มที่ ขณะที่เกิดสภาวะ digital disruption ส่งผลกระทบต่อธุรกิจทุกประเภทรวมถึงธุรกิจประกันภัย หากต้องการให้อยู่รอด จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจโดยนำ InsurTech มาใช้ให้เต็มรูปแบบ

 สำนักงาน คปภ. มีบทบาท 2 ด้าน คือ ด้านกำกับดูแล ซึ่งต้องไม่เข้มงวดจนเป็นอุปสรรคต่อการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ และด้านส่งเสริม ซึ่งจะต้องสร้าง Ecosystem เพื่อเอื้อต่อการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี รวมทั้งต้องมีความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้นวัตกรรมที่เกิดขึ้นนั้นเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งปัจจุบัน สำนักงานคปภ.มีการดำเนินการตามโครงการทดสอบนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการสำหรับธุรกิจประกันภัย (Insurance Regulatory Sandbox) และการจัดตั้งศูนย์ CIT เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการประกันภัย (InsurTech) และเทคโนโลยีประกันภัยในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย (Supervisory Technology : SupTech)  

รวมทั้งมีการปรับปรุงกระบวนการให้ความเห็นชอบกรมธรรม์ประกันภัย File & Use พัฒนา chat bot และ  application แจ้งเคลมประกันภัยรถยนต์ “Me Claim” ต่อไปจะขยายขอบเขต Sandbox ให้ยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทประกันภัย และคนกลางประกันภัย สามารถนำนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ

ล่าสุด ศูนย์ CIT ได้เริ่มดำเนินกิจกรรม University Bootcamp โดยมี Theme เกี่ยวกับ การประกันสุขภาพ เนื่องจากประเทศไทยเข้าใกล้สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และคนไทยมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น จึงต้องพัฒนาส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมการคิดนอกกรอบ ซึ่งเป็นโอกาสดีที่ผู้ชนะจะได้ใบเบิกทางเพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนานวัตกรรมและสร้าง application ใหม่ๆ ให้กับวงการประกันภัยไทยต่อไป

“ผมคาดหวังว่าการจัดงานในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมประกันภัย และขอฝากความหวังไว้กับ Startup รุ่นใหม่ ซึ่งความสำเร็จเหล่านี้จะต้องบูรณาการร่วมกันกับพันธมิตร ทั้งสมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย และภาคอุตสาหกรรมประกันภัย เพื่อพัฒนาและส่งเสริมขีดความสามารถให้กับวงการเทคโนโลยีสารสนเทศในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า และสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัยใหม่ๆ ให้กับภาคอุตสาหกรรมประกันภัยและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด” เลขาธิการ คปภ. กล่าวทิ้งท้าย   

เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!.... เพิ่มเพื่อน