เปิดตำราสุดเจ๋ง “วิธีบริหารเงิน” กลุ่มวัยรุ่นยุโรป

 ในสมัยเด็กๆ เกือบทุกคนน่าจะเคยเปิดบัญชีและออมเงินกับธนาคารไทยไม่แบรนด์ใดก็แบรนด์หนึ่ง โดยเฉพาะโครงการออมเงินของโรงเรียนร่วมกับธนาคารออมสินที่รู้จักกันเป็นอย่างดีิ เพื่อปลูกฝังให้รักในการออมเงินตั้งแต่เด็ก เมื่อหันไปมองประเทศเพื่อนบ้านของเราชาวเอเชียมีวิธีการออมเงินไม่แตกต่างจากของไทยมากนัก ส่วนใหญ่เริ่มต้นบริหารเงินจากก้อนที่มี ด้วยการแบ่งเงินออกเป็นสัดส่วนเล็กๆ ให้พอใช้จ่ายในแต่ละวัน แล้วเงินส่วนหนึ่งต้องถูกจัดสรรไปฝากออมเข้าบัญชีธนาคาร ส่วนพ่อแม่จะมีส่วนร่วมเพียงการย้ำถึงประโยชน์ของการเก็บเงินให้

แต่สำหรับผู้เขียนเองนั้นได้รับการปลูกฝังให้ออมเงินมาตั้งแต่ยังสมัยเด็กๆเช่นกัน โดยคุณครูได้สอนให้ แบ่งเงินที่คุณพ่อคุณแม่ให้มาโรงเรียนเพื่อออม ทำให้เกิดการเก็บออมติดตัวมาถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นที่น่าชื่นชมที่หลายโรงเรียนเห็นความสำคัญมานับจากอดีตที่ผ่านมา มีมากออมมาก  มีน้อยออมน้อยแล้วแต่นโยบายของแต่ละโรงเรียน  บางคนอาจเลือกออมวันละ 10 บาท บ้างก็อาทิตย์ละ 50 บาทเพื่อปลูกจิตสำนึกให้เด็กที่โตขึ้นมาได้รับประสบการณ์ออมเงินติดตัวสืบเนื่องไปจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่

แต่ทั้งนี้ได้เกิดคำถามขึ้นมากมายสำหรับผู้เขียนว่า  ช่วงวัยเด็กที่ย่างก้าวสู่ “วัยรุ่น” วัยที่เรียกว่า กำลังใช้เงิน เริ่มอยากได้สิ่งของมากมายนั้นได้ช่วยให้เกิดการรักในการออมเงินมากน้อยแค่ไหนในวัยนี้?

ซึ่งผู้เขียนได้อ่านงานวิจัย ในต่างประเทศ ล่าสุดเป็นงานวิจัยของทีมงานเว็บไซต์ The Money Advice Service จากหน่วยงานภาครัฐของประเทศอังกฤษ เปิดประเด็นการออมด้วยข้อสมมุติฐานว่า วิธีการสอนของพ่อแม่ชาวยุโรป และเอเชียเป็นความคล้ายที่แตกต่างกันอยู่มากทีเดียว

ในประเทศโซนเอเชียกับประเด็น “การออมเงิน” เห็นได้ชัดว่าจะเน้นที่ “การพูดเพื่อปลูกฝังความคิด” เป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าจะมีการยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เข้าใจให้เข้าใจง่ายพร้อมกับปฏิบัติร่วมกันบ้าง เช่น การออมเงินที่บ้านหรือในโรงเรียน แต่วิธีการดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่ม “บังคับแต่ไม่สุดโต่ง” ซึ่งก็อาจไม่ได้ช่วยให้เด็ก (บางคน) ตระหนักถึงข้อเท็จจริงของการออมเงินในระยะยาว

เมื่อเทียบกับครอบครัวจากฝั่งยุโรป การวิจัยครั้งนี้ในหัวข้อ “How to help teenagers managed money” ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ วิธีการสอน และผู้ถือบทบาทหลักคือ พ่อแม่ โดยครอบครัวชาวยุโรปเรียกปฏิบัติการนี้ว่า “การบริหารจัดการเงิน” ซึ่งดูเกือบจะคล้ายๆกับการออมเงิน แต่ก็ไม่ใช่เสียทีเดียว

ความแตกต่างของมันอยู่ที่ว่า…พอเริ่มเข้าช่วงวัย 11-12 ปีครอบครัวชาวยุโรปจะถือว่าเด็กๆ กำลังแรกเริ่มเข้าสู่การเป็นวัยรุ่น ซึ่งช่วงเวลานี้เองที่เหมาะสำหรับการเริ่มคลาสเรียน ซึ่งมีวิชาการสอนให้เด็กๆ รู้จักออมเงินคือ การเพิ่มหน้าที่ให้บริหารจัดการเงินของตัวเอง ซึ่งเป็นความรับผิดชอบหลักพอๆ กับเรื่องเรียน พวกเด็กๆจะมีอิสระในการบริหารการเงินส่วนใหญ่เป็นรายเดือน (ช่วงทดสอบอาจจะเป็นรายสัปดาห์)

ทั้งนี้ บทเรียนที่จะได้รับ หากไม่สามารถจัดสรรงบประมาณการคลังของตัวเองได้ จะไม่มี extra money ใดๆ เพื่อต่อยอดการดำรงชีพ จุดนี้สำคัญมากเพราะเด็กๆ จะได้รับบทเรียนและรู้จักวิธีการรับมือกับสถานการณ์จริงเร็วขึ้น

ยิ่งกลุ่มเด็กๆ ที่เติบโตขึ้นมาอีกอีกช่วงหรือตั้งแต่อายุ 15 ปีเป็นต้นไป เริ่มมีความต้องการใช้เงินในการซื้อของสักชิ้น ที่ฮิตๆ เช่น โทรศัพท์สมาร์ทโฟน หรือเสื้อผ้าสวยๆ ตามแฟชั่นกับเพื่อน ๆแล้วนั้น สำหรับครอบครัวยุโรปส่วนใหญ่จะไม่มีการตั้งเงื่อนไขเพื่อแลกกับของรางวัลเหล่านี้ อย่างที่หลายคนคงคุ้นเคยกับเหตุการณ์ที่เกิดในบ้านเรา นิยมตั้งเงื่อนไข “ตั้งใจเรียนเพื่อแลกกับมือถือ” เป็นต้น

โดยงานวิจัยระบุว่า สัดส่วนของเด็กวัยรุ่นชาวยุโรปที่ทำงาน part time ในวัย 15 ปีเป็นต้นไป พบว่ามีมากกว่า 23% ถือเป็นอัตราส่วนที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆที่พัฒนาแล้ว  หรือแม้แต่เทียบกับไทย มีสัดส่วนที่น้อยมาก เพียง 3% เท่านั้น

ทั้งนี้ แนวคิดอีกอย่างหนึ่งของครอบครัวชาวยุโรปที่น่าชื่นชม ก็คือ “การสอนให้เผชิญกับสถานการณ์จริงเพื่อช่วยในการบริหารจัดการเงินในชีวิตจริง เป็นหนทางที่อาจดูสุดโต่งสำหรับบางประเทศ แต่มันคือทางลัดที่ดีที่สุดสำหรับวัยรุ่นที่กำลังจะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ แม้ว่าการฝึกบริหารเงินจะเป็นเพียงเม็ดเงินขนาดเล็ก แต่ประสบการณ์มันไม่ได้เล็กตาม”

งานวิจัยยังบ่งชี้ด้วยว่า พฤติกรรมการรู้จักบริหารเงินที่ดี จะลบล้างพฤติกรรมการก่อหนี้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ได้อีกด้วย.

เครดิตภาพ : Brand X Picture/www.telegraph.co.uk///shutterstock

เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!.... เพิ่มเพื่อน