มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิ ตชนบท หนุนโภชนาการที่ดีของเยาวชนสานต่อปีที่ 33 โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ ออาหารกลางวันนักเรียน
“โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ ออาหารกลางวันนักเรียน ” ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิ เจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เป็นโครงการที่มีส่วนร่วมแก้ปั ญหาทุพโภชนาการของเด็ กและเยาวชนไทย ตลอด 32 ปีที่ผ่านมา โดยน้อมนำแนวพระราชดำริ ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงห่วงใยภาวะโภชนาการของเด็ กนักเรียนและเยาวชนในชนบทและพื้ นที่ห่างไกลมาดำเนินการ
จากจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2532 เพื่อมีส่วนเสริมสร้ างโภชนาการที่ดีแก่เด็ กและเยาวชนในชนบททุ กภาคของประเทศไทย ผ่านกิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ และนำผลผลิตไข่ไก่ มาประกอบอาหารกลางวันสำหรับนั กเรียน ผลผลิตไข่ไก่อีกส่วนหนึ่งที่เกิ นจากการนำมาเป็นอาหารกลางวัน ถูกนำมาบริหารจัดการด้ วยการจำหน่ายให้แก่ชุมชน มีรายได้จากการจำหน่ายไข่ไก่ นำกลับมาหมุนเวียนเพื่อให้ สามารถดำเนินโครงการไปได้อย่ างต่อเนื่อง
นอกจากผลผลิตไข่ไก่ที่เด็กๆได้ รับประทานตลอดช่วงเปิดเทอมแล้ว มูลนิธิฯ วางโมเดลระบบบริหารจั ดการโครงการฯ เพื่อให้แต่ละโรงเรี ยนสามารถดำเนินโครงการได้อย่ างยั่งยืน และยังเป็นเสมือน“ห้องเรียนสั งคม” หรือ Social Lab ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ ทั้งด้านการผลิต การจัดการการเลี้ยงไก่ไข่ในเชิ งอาชีพ การเลี้ยงไก่ไข่ที่ถูกหลักวิ ชาการ เรียนรู้เรื่องของการจั ดการผลผลิต การทำบัญชี ระบบสหกรณ์ รวมไปถึงการสร้างทักษะอาชีพ จุดประกายและสร้างแรงบั นดาลใจให้เด็ก ๆ นำไปเป็นทางเลือกอาชีพได้ ในอนาคต โดยมีพี่ ๆ สัตวบาลจาก บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟ ช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับครู และนักเรียน
มูลนิธิฯ ดำเนินโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ ออาหารกลางวันนักเรียน จากการสนับสนุนโครงการเกษตรเพื่ ออาหารกลางวันในโรงเรี ยนตำรวจตระเวนชายแดน ภายใต้การดูแลของสำนั กงานโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขยายผลไปยังโรงเรียนในสังกั ดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้ นพื้นฐาน หรือ สพฐ. และสังกัดอื่น ๆ จนถึงปัจจุบัน เข้าสู่ปีที่ 33 มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ 880 โรงเรียน อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ 231 โรงเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 342 โรงเรียน ภาคกลาง 138 โรงเรียน ภาคตะวันออก 56 โรงเรียน และภาคใต้ 113 โรงเรียน โดยมีซีพีเอฟเป็นภาคีเครือข่ ายร่วมสนับสนุนโครงการ และหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ หรือ JCC-B (Japanese Chamber of Commerce -Bangkok) บมจ.สยามแม็คโคร หรือ Makro เน้นช่วยเหลือโรงเรียนในทุกภู มิภาคที่มีเด็กนักเรี ยนและเยาวชนมีปัญหาทุพโภชนาการ
ภายใต้หลักการในการบริหารจั ดการโครงการฯ มีมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชี วิตชนบท เป็นผู้บริหารจั ดการโครงการและงบประมาณ อาทิ การก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ ไข่ อุปกรณ์การเลี้ยง พันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ และปัจจัยการผลิต และร่วมกับซีพีเอฟคัดเลื อกโรงเรียน ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิควิชาการการเลี้ยงไก่ไข่ พร้อมทั้งติดตามประสิทธิ ภาพการเลี้ยงของแต่ละโรงเรี ยนเพื่อร่วมแก้ปัญหาได้อย่างทั นท่วงที
โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 จ.ตาก เป็นโรงเรียนที่เปิดการเรี ยนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 2 -มัธยมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียน 1,908 คน “ดร.ศิรภัสสร ชุมภูเทพ “ผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าวว่า โรงเรียนฯเข้าร่วมโครงการเลี้ ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนั กเรียน ตั้งแต่ปี 2559 จำนวนไก่ไข่ที่เลี้ยง 300 ตัว เด็กๆได้บริโภคไข่ไก่เป็ นอาหารมื้อกลางวันสัปดาห์ละ 2 มื้อ ต้องขอขอบคุณมูลนิธิฯ และซีพีเอฟ ที่ส่งมอบโครงการดีๆ ช่วยให้เด็กเติบโตสมวัย และยังได้ความรู้เรื่องการดู แลไก่ไข่ โรงเรียนสามารถนำมาบู รณาการการเรียนการสอน เป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็ก ชุมชนเองก็ได้บริโภคไข่ไก่ ในราคาย่อมเยา นอกจากนี้ โครงการนี้ ยังตอบโจทย์การผลิตอาหารที่ ปลอดภัย การสร้างแหล่งอาหารที่ยั่งยืน ส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี
นายประจักสิน บึงมุม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้ านคลองเรือ ต.เทพนคร อ.เมือง จ. กำแพงเพชร กล่าวว่า โรงเรียนเข้าร่วมโครงการเลี้ ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนั กเรียนมา 1 ปี สิ่งที่ได้รับจากโครงการฯหลายด้ าน คือ นักเรียนมีโภชนาการที่ดีขึ้น จากการที่ได้บริโภคไข่ไก่ เป็นอาหารมื้อกลางวันทุกวัน เป็นโครงการที่ส่งเสริมเข้าถึ งโปรตีนคุณภาพ ได้เรียนรู้ และมีทักษะในการเลี้ยงไก่ไข่ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นทางเลื อกในการประกอบอาชีพในอนาคต นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้ว่าการน้อมนำหลั กปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุ กต์ใช้สู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิ ดผลสัมฤทธิ์ได้จริงนั้น ต้องมีการบริหารจัดการที่เป็ นระบบ มีวิธีการ มีขั้นตอน ซึ่งเราได้รับการถ่ายทอดความรู้ และคำแนะนำจากซีพีเอฟและมูลนิธิ ฯ เช่น โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ ออาหารกลางวันนักเรียน ที่เราต้องรู้จักบริหารจั ดการผลผลิตไข่ไก่ ระบบบัญชี การคำนวณจุดคุ้มทุน เป็นต้น
นางลักษณา พรหมพล อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้ วยลาด อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ กล่าวว่า โรงเรียนเปิดการเรียนการสอนตั้ งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึ กษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียน 300 คน เดิมโรงเรียนมีการเลี้ยงไก่ไข่ อยู่แล้ว เพื่อนำผลผลิตมาเป็นอาหารกลางวั น แต่ก็ได้เพียงสัปดาห์ละ 1 มื้อ หลังจากที่โรงเรียนเข้าร่ วมโครงการในปีนี้เป็นปีแรก เริ่มเลี้ยงไก่ล็อตแรก 200 ตัว เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ผลผลิตไข่ไก่ทำให้เด็กนักเรี ยนได้บริโภคไข่ไก่เป็ นอาหารกลางวันสัปดาห์ละ 2 มื้อ โรงเรียนมีโรงเรือนที่เลี้ยงไก่ ไข่ที่ได้รับการดูแลด้านสุขาภิ บาลที่ดี ไม่มีกลิ่นรบกวน นักเรียนมีความรับผิดชอบ ได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ ที่ถูกต้อง ชุมชนรอบข้างได้บริโภคไข่ไก่ที่ สดและราคาย่อมเยา
ครูมณี ฦาชา ครูผู้ดูแลโครงการเลี้ยงไก่ไข่ เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน โรงเรียนบ้านกุยแหย่ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เล่าว่า เริ่มต้นเข้าโครงการฯ เมื่อปี 2553 จาก 100 ตัว และเพิ่มการเลี้ยงเป็น 300 ตัว ในปัจจุบัน เพื่อนำผลผลิตไข่ไก่สำหรับเป็ นอาหารกลางวันของนักเรียน 863 คน ในระดับชั้นอนุบาล- มัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถจัดสรรอาหารกลางวันให้กั บนักเรียนได้ทุกคน นอกจากนี้ เด็กๆ ได้ลงมือปฏิบัติวิชาการเกษตรเพื่ อให้มีประสบการณ์จริง และปรับวิชาการเกษตรเข้าสู่หลั กสูตรในวิชาเพิ่มเติมด้วย ขณะที่ชุมชน มีโอกาสซื้อหาไข่ไก่สด สะอาด ปลอดภัย ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด
ตลอด 32 ปี ของโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ ออาหารกลางวันนักเรียน ส่งเสริมเด็กและเยาวชน 180,000 คนเข้าถึงโปรตีนคุณภาพ ได้บริโภคไข่ไก่เป็นอาหารมื้ อกลางวันอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 มื้่อ โรงเรียนฯ มีกองทุนสะสมเพื่อใช้หมุนเวี ยนในโครงการฯ เกิดความร่วมมือระหว่าง ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ผ่านกิจกรรม Co-production ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้อาชี พเกษตรธุรกิจ รวมทั้งผลผลิตจากโครงการเอื้ อประโยชน์ให้สมาชิกของ 1,972 ชุมชนรอบโรงเรียน สามารถเข้าถึงอาหารโปรตีนคุ ณภาพจากไข่ไก่สด สะอาดและปลอดภัย ในราคาที่เหมาะสม การเลี้ยงไก่ไข่ยังเป็นอาชี พทางเลือกสำหรับนักเรียนและผู้ ปกครองด้วย
โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ ออาหารกลางวันนักเรียน ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ กและเยาวชน ชุมชน เป็นโครงการที่มี โอกาสขยายผลไปสู่การสร้างเป็น Social Enterprise และสอดรับกับเป้าหมายเพื่ อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ ในข้อ 2 – Zero Hunger ขจัดความหิวโหย และ ข้อ 3 Good health and well-being สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ ดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี สำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย .
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
ทีมงาน INN WHY? รายการเพื่อผู้บริโภค ร่วมปฏิวัติความคิด ปรับเปลี่ยนชีวิต ก้าวสู่ความมั่นคง หลังเกษียณ
ติดตามเราได้ที่ไลน์แอด @INNWHY.TV หรือ Facebook.com/INNWHY.TV และ Youtube.com/c/innwhy
Contact us : INNWHY31@gmail.com