นายชนะพล  มหาวงษ์ ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย (กปว.) เปิดเผยต่อทีมข่าว INNWhy (อินวาย) ถึงประเด็นการจ่ายเงินคืนผู้เอาประกันภัยโควิดแบบ เจอ จ่าย จบ จาก 4 บริษัทที่ถูกสั่งปิดไปก่อนหน้านี้ว่า โดยประสิทธิภาพการพิจารณาตรวจสอบเอกสารและการดำเนินงานตามขั้นตอนของบุคลากรเจ้าหน้าที่กองทุนฯ ปัจจุบันสามารถเร่งจ่ายคืนได้ประมาณ 1,000-1,500 รายต่อเดือน จากจำนวนผู้ยื่นขอรับการชำระหนี้กับกองทุนฯ รวมทั้งหมด 648,537 ราย (ข้อมูลล่าสุด 9 มิถุนายน 2565)

“คิดเป็นเงินมูลค่าประมาณ 30 กว่าล้านบาทต่อเดือน และหากกองทุนฯ สามารถเพิ่มขีดความสามารถการทำงานขึ้นเป็น 100% หรือสามารถคืนเงินเจ้าหนี้เหล่านี้ได้ประมาณ 3,000 รายต่อเดือน ก็คิดเป็นเงินที่ต้องจ่ายต่อเดือนอยู่ราว 60 ล้านบาทต่อเดือน หากเทียบกับวงเงินสมทบจากเบี้ยของบริษัทประกันวินาศภัยในอุตสาหกรรมเข้ากองทุนฯ ประมาณ 600 ล้านบาทต่อปี รวมกับทรัพย์สินของกองทุนฯ ที่มีอยู่ประมาณ 6,000 กว่าล้านบาท แล้วการจ่ายเงินคืนดังกล่าวจึงยังไม่มีปัญหา”

นายชนะพล กล่าวเพิ่มเติมว่า หากพิจารณาเร่งรัดการจ่ายคืนเงินเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย 4 บริษัทประกันวินาศภัยดังกล่าวให้เร็วขึ้นเป็น 400% จากเดิมกว่า 300 ล้านบาทต่อปี ก็จะเพิ่มเป็นประมาณกว่า 1,200  ล้านบาทต่อปี จากการหมุมเวียนของเงินสมทบและทรัพย์สินของกองทุนฯ ที่มีอยู่ข้างต้นก็ยังสามารถจ่ายได้โดยยังไม่ต้องพึ่งพิงจากแหล่งเงินอื่น

สำหรับประเด็นสภาพคล่องอนาคตของกองทุนฯ (อีกหลายปี) นั้น นายชนะพลกล่าวว่า เนื่องจากกองทุนฯเป็นหน่วยงานของรัฐที่จะต้องชำระหนี้ให้กับผู้เอาประกันฯ นั้นอยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ทางกองทุนฯ จึงได้มีการหารือเบื้องต้นกับทางสบน.ถึงแผนการใช้เงินในอนาคตไปแล้ว โดยทางสบน.จะพิจารณากองทุนฯ  3 เรื่อง คือ 1.สถานะกองทุนฯในปัจจุบัน 2. ยอดหนี้ของกองทุนฯ และ3. ประสิทธิภาพในการชำระหนี้ของกองทุนฯ

ดังนั้น เมื่อพิจารณาดูแล้วสภาพคล่องต่างๆของกองทุนจึงยังไม่น่าเป็นห่วง กองทุนฯยังสามารถจ่ายหนี้ผู้เอาประกันได้ปีละ 300 กว่าล้านบาทเมื่อเทียบกับรายได้ต่อปีของกองทุนฯที่ 600 กว่าล้านบาท ประชาชนไม่ต้องกังวลว่ากองทุนฯจะไม่มีเงินจ่าย แต่อยู่ที่กองทุนฯ จะมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบข้อมูลเอกสารของผู้ขอรับชำระหนี้ให้ได้รวดเร็วขึ้นเป็นสำคัญ

ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัยคนล่าสุด กล่าวว่า เนื่องจากใช้คนตรวจสอบข้อมูล ทางสำนักงานคปภ.จึงได้เพิ่มบุคคลากรเข้ามาช่วยเสริมอีก 40 คน เมื่อรวมกับการเชื่อมโยงระบบข้อมูลกับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อช่วยตรวจสอบข้อมูล  RT-PCR ของผู้เอาประกันผ่านเลขบัตรประชาชน 13 หลัก มาช่วยตรวจสอบข้อมูลเพิ่มก็จะทำให้การตรวจสอบรวดเร็วขึ้น และจะพยายามเร่งรัดการจ่ายให้เร็วที่สุด

ในขณะนี้สถานภาพการจ่ายเงินคืนผู้เอาประกันตามข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2565 มีดังนี้

พร้อมกับอธิบายเพิ่มเติมต่อท้ายการสรุปจำนวนผู้ขอรับการชำระหนี้กับกองทุนฯ จาก 4 บริษัทรวมทั้งหมด 648,537 ราย แต่เป็นยอดผู้ขอรับการชำระหนี้รวมกับกรณีอื่น โดยหากแยกจำนวนผู้ขอรับชำระหนี้ฯ กรณีเป็นผู้เอาประกันภัยโควิด เจอ จ่าย จบ จะเป็นยอดเงินประมากณ 40,000 กว่าล้านบาท

ทั้งนี้ บมจ.เอเชียประกันภัย 1950  ได้ครบกำหนดวันยื่นขอรับชำระหนี้ของผู้เอาประกันฯ ไปแล้วเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 และ บมจ.เดอะวัน ประกันภัย ครบกำหนดเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565  ส่วน บมจ.อาคเนย์ประกันภัย และบมจ.ไทยประกันภัย จะครบกำหนดยื่นขอรับชำระหนี้ในที่ 15 กรกฎาคม 2565 นี้ ซึ่งแม้ตรงกับวันหยุดแต่ทางกองทุนฯ ยังเปิดรับเอกสารและคำขอรับชำระหนี้เป็นวันสุดท้าย

เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....