@@…กราบสวัสดีมิตรรักแฟนคลับขาประจำสื่อ INNWhy กับคอลัมน์ก็อสซิปคนแวดวงการประกันภัย SPY MAN รอบสัปดาห์นี้วนมาพบกับท่านผู้ติดตามตรงกับวันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2567 วันสำคัญของครอบครัวอีกวันหนึ่งกับวาระ “วันแม่แห่งชาติ” ที่หลายคนได้ตั้งจิตตั้งใจมอบสิ่งของที่รักแทนใจให้กับ “แม่ตัวเอง” กันอย่างอบอุ่น…หนึ่งในนั้นที่เราเห็นและสัมผัสกันมาทุกปีก็คือ…รักแม่ทำประกันฯ ให้แม่…ล่ะนะ…@@

@@…โดยเฉพาะประกันสุขภาพ…ที่วันนี้ยังมีโอกาสดีที่จะทำประกันภัยต่างๆ ให้คุณพ่อคุณแม่ เพราะนับวันจะมีอายุอานามมากขึ้นตามระยะการเดินทางเข้าสู่ภาวะสูงวัยกัน…และที่สำคัญ “บริษัทประกันฯ” ยังใจกว้างเปิดแผนรับประกันผู้สูงอายุอย่างหลากหลาย ไม่ค่อยมี “เงือนไขมัด” แน่นหนาเหมือนแต่ก่อน ที่อายุเกิน 70 ปีก็ทำไม่ได้…ถ้าทำได้ก็ทำได้เฉพาะแบบ “ผู้สูงวัย” ที่เสียชีวิตเท่านั้นจะได้มีการจ่ายเคลมประกันฯ ไม่มีการดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเหมือนในวันนี้…@@

@@…และ ณ ที่นี้ เท่าที่  SPY MAN รับทราบมาจากท่าที “ผู้บริหารบริษัทประกันฯ” ต่างก็เร่งรีบหาวิธีการ “จำกัด” และ “หาเงื่อนไข” มาเป็นตัวช่วยในการจะรับประกันภัยสำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเคลมสูงมากขึ้นแล้ว…ซึ่งในกลุ่มนี้เห็นชัดๆ ก็คือ “ประกันภัยเด็ก” และที่เลี่ยงไม่ได้ตามอายุเลยก็คือ “ประกันภัยผู้สูงวัย” แล้วที่จะตามมาให้เห็นๆ กันต่อในเร็ววันนี้ก็คือ…ประกันภัยที่มีความเสี่ยงเคลมสูงจะมีการปรับขบวนการรับประกันภัยใหม่ล่ะ…@@

@@…อย่างที่ SPY MAN นำเสนอมาอย่างต่อเนื่องว่า มีหลายบริษัทประกันฯ และเหมือนจะเกือบทั้งหมดในอุตสาหกรรมแล้ว…ที่ “เลิกขาย” ประกันภัย “สุขภาพเด็ก” ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 6 ขวบ และบางบริษัทก็ขยับเพดานไปถึง 10 ขวบกันไปแล้ว…และเท่าที่ทราบมาอีกว่าเร็วๆ นี้ประกันภัยสุขภาพเด็กก็อาจจะกลับมาอีกครั้ง…แต่งานนี้จะเป็นลักษณะของ “แชร์ค่าใช้จ่าย” หรือ “ต้องจ่าย“ ส่วนหนึ่งร่วมกับบริษัทประกันภัยด้วย…@@

@@…ค่าใช้จ่ายร่วมหรือที่เรียกกันว่า Co pay หรือ Co-Payment ลักษณะนี้คือ การจ่ายอย่างมีเงื่อนไข โดยที่บริษัทประกันสามารถเลือกระบุในแบบประกันได้ หมายถึง การให้ผู้ซื้อประกันร่วมจ่ายในค่าเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย โดยกรมธรรม์จะต้องระบุว่าเป็น Co-payment กี่เปอร์เซ็น เช่น “Co-payment 20%” แปลว่า ทุกครั้งที่มีการเคลมเกิดขึ้น บริษัทประกันจะจ่ายค่าเสียหาย 80% เท่านั้น…@@

@@…สำหรับบ้านเราได้ยินจากเสียงของ “บอร์ด” สมาคมประกันชีวิตไทย และเป็นการประมาณการณ์ที่ได้จากคำตอบคร่าวของ “คุณป้อง สาระ ล่ำซำ” อุปนายกฝ่ายการตลาดสมาคมฯ ที่ดูแลเรื่องประกันสุขภาพนั้นแย้มๆ มาแล้วหล่ะคร้าบ…เปอร์เซ็นการแชร์ค่าใช้จ่ายสำหรับ Co-payment ประกันสุขภาพบ้านเราเร็วๆ นี้อาจจะอยู่ที่ไม่เกิน 30% ซึ่งจะออกมาใช้กันอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเมื่อไหร่นั้นก็ขึ้นอยู่กับความเห็นและการอนุมัติของ “สำนักงาน คปภ.” ที่เร่งไม้เร่งมือทำงานกันอยู่เวลานี้…@@

@@…แต่ระหว่างนี้ “บริษัทประกันภัย” ต่างๆ ก็ทำแบบประกันภัยสุขภาพแบบ Co-payment รองรับเสนอ สำนักงาน คปภ.กันพร้อมหน้าแล้วเหมือนกัน…นี่หละผลพวงที่มาจากความเข้าใจไม่ถูกต้องในระบบประกันฯ แล้วก็ทำกันอย่างไม่ถูกต้องมาตลอดแถมยังไปเห็นดีเห็นงามกับโรงพยาบาลเอกชนที่กำลังปั้นกำไรสร้างรายได้จากผู้เอาประกันฯที่เจ็บป่วยธรรมด๊าธรรมดาให้เป็น “ป่วยหนัก” กันโครมๆ อีก…เงิบ!! กันไปเลย…@@

@@…จากเรื่องโคเปเม้นท์ประกันสุขภาพ…มาต่อกันที่การวิเคราะห์วิจารณ์การทำงานของบางบริษัทประกันชีวิต ตอนนี้กันเลยว่า คนวงการเขามองประเด็นการ “ปล่อย” ให้มีการทำประกันชีวิตของ “ตอง ชลดา” กันอย่างไร…เขามองเป็นความผิดพลาดในการพิจารณารับประกันฯ ของ underwriter ที่หละหลวม!! ของ “เอฟดันบลิวประกันชีวิต” ที่ไขก๊อกเปิดทางให้ “ผู้ประสงค์ร้าย” กระทำกันง่ายดายผ่านการซื้อออนไลน์…@@

@@…เพราะเป็นการอนุมัติโดย underwriter authority ภายในที่เขาตั้งระบบเป็นขายผ่านออนไลน์วงเงินไม่เกิน กรมธรรม์ละ 5 ล้านบาท (เลยผ่านฉลุยทั้ง 2 ฉบับในเวลาที่ซื้อห่างกันเพียง 3 วัน…ฉบับแรกซื้อเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 ซื้อประกันชีวิตทุนประกัน 5 ล้านบาท แล้วอีก 3 วันต่อมาในวันที่ 27 มกราคม 2567 ก็ซื้ออีกด้วยทุนประกัน 4 ล้านบาท รวมทำประกันฯ กับค่ายนี้ภายใน 1 สัปดาห์ 2 ฉบับรวมทุนประกัน 9 ล้านบาท…จะว่าไปก็เหมือนการทำงานของ AI ที่ไม่มีการสะกิดคิดเหตุและผลของการซื้อขายประกันฯ นั่นหละ…@@

@@…เสียงวิเคราะห์ได้ดังมาอีกทำนองว่า…การที่บริษัทฟรีก็อกทั้งทุนประกัน, ผู้รับผลประโยชน์, ตลอดการตรวจเช็กรายได้, แถมยังรับประกันติดต่อกันถึง 2 กรมธรรม์เช่นนี้ มันจะทำให้มอง “บริษัท” เน้นขายและขายอย่างเดียว!!!  สนใจแต่เป้า!!! อย่างนั้นได้กันมั๊ย!! และการที่ฉบับที่ 2 ซื้อด้วยทุนต่ำกว่า 5 ล้านบาท รวมทุนแล้วไม่ถึง 10 ล้านบาท…เพื่อให้ “หลุดจากระบบ” อะไรตรงนี้…มีใครแนะนำเป็นพิเศษหรือไม่!!…@@

@@…ประเด็นสุดท้ายนี้…ถูกลากโยงมาถึง “คนกลาง” จนได้หล่ะ…มีใครคนหนึ่งให้ความร่วมมือหรือปล่าว…นี่หละคร้าบเสียงที่เขากำลังโฟกัสมาที่ “ประกันชีวิตออนไลน์” ตอนนี้…มีช่องว่างให้ฉวยโอกาสกันง่ายๆ ภายใต้เงือนไขหลวมๆ ของระบบการรับประกันฯ บังเอิญว่าวันนี้ “เอฟดับบลิวดีประกันชีวิต” มีทุนประกันฯ เยอะสุดก็เลยกลายเป็นประเด็นสนใจมากมายที่สำคัญจ่ายเบี้ยรวมๆ รายปีแล้วประมาณ 2 หมื่นบาทเท่านั้น…@@

@@…จากเคสกรณี “ตอง ชลดา” นี้ก็น่าจะเป็นประเด็นต่อเนื่องที่มาซ้ำขย่ำจี้หัวใจ “คนคปภ.” อีกครั้งหนึ่งหล่ะว่า…เมื่อไหร่ระบบ “แชร์ข้อมูลประกันฯ” ที่ว่ากันมานมนานเป็นชาติแล้วจะเสร็จสมบูรณ์ใช้การได้…สามารถแชร์ข้อมูลการทำประกันของ “ลูกค้า” เป็นข้อมูลกลางได้ทันท่วงทีทันการณ์มากกว่านี้…ทุกคนได้แต่โยนคำถามใส่กันว่า…ไม่มีการแชร์ข้อมูลกันหรือ!! แน่นอน “เอกชน” ไม่มีวันทำ!! แต่ผู้ที่จะทำได้คือ “สำนักงาน คปภ.” …ล่าช้าไปเรื่อยๆ “ประกันภัย” ก็มีภาพไม่งามและถูกใช้เป็นเครื่องมือของ “อาชญากร” ไปไม่มีวันจบสิ้น สวัสดี…@@

เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....