พอเข้าปี 2565 ก็ตกกะใจ!! กับภาวะ “สังคมคนไทย” ที่กลายเป็น “สังคมสูงอายุ 100%” แล้ว!! ปีนี้ถ้านับคนไทยอายุเกิน 60 ปี (ไม่มีงานทำแล้ว) กำลังมีจำนวนพุ่งสูงขึ้นจาก 12-13 ล้านคน (โดยเฉลี่ย) หรือคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งประเทศล่ะ
และปี 2574 ไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอดเหมือนญี่ปุ่น คือมีประชากรสูงกว่าอายุ 60 ปีขึ้นไปมากถึง 28% ของประชากรทั้งหมดด้วย
แล้วมีอะไรที่ต้องกังวล!! แน่นอน…ต่อไปพวกเราจะเริ่มเห็นๆ กันในระยะต่อไป “คนแก่” ที่ไม่ทำงานแล้วเป็นภาระเลี้ยงดูของลูกหลานมากขึ้นๆ กว่าที่เป็นมา เฉลี่ยปัจจุบันคนหาเงินได้ 4 คน ดูแลคนแก่ 1 คน เด็ก 1 คน แล้วจะขยับลดกำลังเหลือคนหาเงินได้ 2 คน ดูแลคนแก่ 1 เด็ก 1 คน (คนแก่จะมีสัดส่วนเป็น 1 ใน 3 ของประชากรไทยทั้งหมด) ภายใน 20 ปีหน้านี้
เห็นๆ ภาระ!! แล้วน่าตกใจ!! คนเลี้ยงดู 1 คน ต่อคนที่เป็นภาระเลี้ยงดู 1 คน กันเลยหล่ะ!!
ต่อเรื่องนี้ “ดร.สมโพชน์ เกียรติไกวัล” ประธานที่ปรึกษาสำนักกรรมการผู้จัดการ และสายงานตัวแทน บมจ.โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) ในฐานะเป็นผู้บุกเบิก “บำนาญเพนชั่น” ในประเทศไทยมานานร่วม 12 ปี จน บริษัทโตเกียวมารีนประกันชีวิต เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและขึ้นชื่อชั้นเป็น “บริษัทผู้นำบำนาญ” ได้นำประสบการณ์การดูแล “ลูกค้าประกันบำนาญ” ที่ทำกับบริษัทมากว่า 30% ของจำนวนลูกค้าทั้งหมด มาแชร์สาธารณะผ่านมุมมองว่า
“คือจะให้ดีรัฐบาลควรจะส่งเสริม ให้บริษัทประกันออกผลิตภัณฑ์พวกนี้ วิธีการส่งเสริมก็คือให้ มีการออกพันธบัตรรัฐบาล ระยะยาว 80 ปี 50 ปี หรือ 30 ปี ที่ให้ผลตอบแทน ที่สูงกว่าพันธบัตรทั่วไป อีกเล็กน้อย”
ต่อประเด็นการจุดประกายความคิดของ “ดร.สมโพชน์” ครั้งนี้!!
ต้องบอกว่า ยังไม่สาย!! ที่ภาครัฐ! จะเริ่ม!! ให้ความสนใจในการออก “พันธบัตร” ระยะยาวผลตอบแทน “ดีจูงใจ” ให้เหล่าบรรดา “บริษัทเอกชน” หันมาทำแบบกรมธรรม์ “ประกันบำนาญเพนชั่น” แข่งกันขายในตลาด เพื่อเป็นทางออก “อุ้ม” หรือ “พยุง” สังคมไทยที่ก้าวสู่ “สังคมสูงอายุเต็มตัว” วันนี้!! ให้สามารถฝ่าวิกฤตรอบด้านที่จะเกิดขึ้นไปได้ตลอดรอดฝั่ง!!
ทำไม!! ต้องจับเรื่อง “พันธบัตรระยะยาว” มาเป็นประเด็นจุดฉนวนระเบิดให้ “รัฐบาล” ทำตอนนี้!!
ก็เพราะว่า…เป็นจังหวะเหมาะมากที่จะ “เปิดโอกาส” ให้กับเฉพาะ “บริษัทประกันชีวิต” ที่ขายประกันบำนาญเพนชั่น (ไม่ใช่บำนาญ 200,000 บาท) ได้เข้าไป “ลงทุน” ซื้อพันธบัตรระยะยาวเหล่านี้ได้โดยสามารถ “บริหารต้นทุน” ในระยะยาวๆ จนครอบคลุมกับระยะเวลาที่ให้ความคุ้มครอง “ผู้เอาประกันบำนาญ” ได้ลงตัวและไม่ขาดทุน!!
และยิ่งถ้ามีบริษัทประกันชีวิตหลายๆ บริษัท หันมาออกแบบประกันบำนาญเพนชั่น หรือ “บำนาญภาคเอกชน” นี้กันมากๆ ขึ้น ก็จะเป็นการสร้างกลไกทางการตลาดจนในที่สุด “เบี้ยประกันฯ” จะถูกลงกว่าปัจจุบันได้อีก!!
แล้วก็ต้องถามต่อว่า…ทำไม!! ต้องเร่งระดมขาย “ประกันบำนาญภาคเอกชน” นี้กันมากขึ้นจนถึงมากที่สุดเท่าที่จะขายกันนับตั้งแต่นี้ต่อไป…
คำตอบก็คือ…ก็คือ…เป็นทางออกให้บริษัทประกันชีวิตได้ “จัดเครื่องมือการเงิน” ที่มั่นคงให้ “คนไทย” ที่พอมีกำลังช่วยเหลือตัวเองได้ระดับหนึ่งได้ “ออมเงิน” อย่างถูกที่ถูกทางกับทิศทางสังคมไทยในระยะ 20 ปี ข้างหน้านี้นั่นหล่ะ!!
เพราะ!! หาก “รัฐบาล” ยังไม่ทำอะไรเกี่ยวกับ “เครื่องมือทางการเงิน” นี้อีก…แล้ววันนั้นมาถึง “คนแก่” ที่ฝากเงินไว้กับระบบอื่นอาจจะ “มีเงินไม่พอ” กับการดำรงชีพ ซึ่งแทนที่จะเป็น “คนมีเงิน” มีรายได้ประจำเดือนของตัวเองไปจนถึงวันสิ้นใจไปจากโลกนี้หากเก็บเงินไว้ใน “ระบบประกันบำนาญ” ซึ่งจะลดภาระค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูของลูกหลานลงอย่างเห็นๆ…
แล้ววันนั้น!! “คนไทย” คงจะไม่กลายเป็น “คนประเทศยากจน” ตามความกังวลกันอยู่ในขณะนี้ล่ะ
ยิ่งมารับทราบ “ข้อมูล” จากสถาบันวิจัยประชากรไทยและสังคม ม.มหิดล ก็ยิ่งมีความกังวลกันมากขึ้นอีกเท่าตัว ที่เขาระบุไว้ว่า
“ประเทศไทยก้าวเข้าสังคมสูงอายุรุนแรงและรวดเร็วมากเมื่อเทียบกับชาติตะวันตกที่ใช้เวลากว่า 100 ปีในการเปลี่ยนผ่าน แต่บ้านเราใช้เวลาเพียง 17 ปีเท่านั้น (ปี 2548 – 2565)”
สาเหตุเพราะคนไทยมีอัตราการเกิดน้อย คุมกำเนิดได้ดี และอายุคนยืนยาวขึ้น โดยคลื่นสึนามิประชากรที่เป็นคลื่นลูกใหญ่ในขณะนี้ เป็นกลุ่มประชากรที่เกิดในช่วง 2506 – 2526 ซึ่งเป็นช่วงปีที่มีอัตราการเกิดมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี จึงจะส่งผลให้ใน 20 กว่าปีข้างหน้า ผู้สูงอายุจะเพิ่มจาก 12 ล้านคน เป็น 21 ล้านคน และผู้สูงอายุปลาย 80 ปีขึ้นไป จะเพิ่มจาก 1.4 ล้านคน เป็น 3.4 ล้านคน
ยังมีการกางตัวเลขที่น่าตกใจเพิ่มเติมออกมาอีกว่า ความเป็นจริงของสังคมไทยวันนี้ “มีความเหลื่อมล้ำสูง” ในด้านความมั่นคงทางรายได้ของ “ผู้สูงอายุ” หลายคนยังไม่ได้รับความเท่าเทียมงบประมาณเบี้ยยังชีพจากนโยบายต่าง ๆ
อย่างเช่น…ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ 9.6 ล้านคน ใช้งบประมาณไป 8 หมื่นล้านบาท ผู้สูงอายุที่ได้รับบำเหน็จ 8 แสนกว่าคน ใช้งบประมาณไปมากถึง 3 แสนล้านบาท และกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ 5.9 แสนคน ใช้งบประมาณเพียง 2 หมื่นกว่าล้านบาทเท่านั้น
อีกทั้งยังมีผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยในระบบของภาครัฐเกินกว่า 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุทั้งหมดอีกด้วย (นะจะบอกให้!!)
จากเหตุผลที่หามาสนับสนุนเป็นคำตอบว่า….ทำไมต้องออกพันธบัตรระยะยาวและต้อง “ล็อก” ขายให้เฉพาะบริษัทประกันชีวิตที่ขายประกันบำนาญเพนชั่น หรือ ประกันบำนาญภาคเอกชน ก็คงพอสรุปให้เห็น “ประสงค์” ว่า ก็เพื่อให้เกิดแรงจูงใจต่อบริษัทประกันชีวิตในการบริหารต้นทุนได้ครอบคลุมกับค่าคุ้มครองระยะยาวรองรับอย่างพอเพียงกับจำนวน “ผู้เอาประกันฯ” ซึ่งก็คือ “คนสูงอายุอนาคต” หรือ “คนมีรายได้” ส่วนหนึ่งในวันนี้ที่จะพากันมาหันทำประกันบำนาญกันมากขึ้น
แล้ว “คนทำประกันบำนาญ” วันนี้จะกลายเป็น “คนแก่มีรายได้ประจำ” กันพร้อมหน้าใน 20 ปีข้างหน้านี้ เพราะ “พวกเขา” มี “บำนาญส่วนตัว” อย่างน้อย ก็ 5,000 บาทต่อเดือน ไว้ใช้จ่ายเลี้ยงชีพไปจนสิ้นอายุขัยได้!!
และเงิน 5,000 บาทต่อคน ก็ไม่ได้เป็นเงินที่มาจากงบประมาณรัฐหรือเป็น “ภาระรัฐบาล” แต่มันเป็นเงินที่ “คนสูงอายุ” เหล่านั้นเขาได้อาศัย “ระบบประกันบำนาญ” ออมเงินเก็บไว้ให้ตัวเองใช้จ่ายอย่างพอเพียงด้วยตัวเองนั่นเอง!!
ฉะนั้น!! วันนี้ “รัฐบาล” ต้องมองที่ “ต้นน้ำ” คือเคลียร์ทางปูถนนให้ “บริษัทประกันชีวิต” ได้ทำแบบประกันบำนาญดีๆ ออกมาให้ “คนไทย” ได้มีเครื่องไม้เครื่องมือดูแลความมั่นคงทางการเงินของตัวเองได้ก่อนเหมือน “คนญี่ปุ่น” และเป็นจุดเริ่มแก้ปัญหาระยะยาวกับวิกฤตที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยดีที่สุดหนทางหนึ่ง!!
เพิ่มเราเป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้!....
ทีมงาน INN WHY? รายการเพื่อผู้บริโภค ร่วมปฏิวัติความคิด ปรับเปลี่ยนชีวิต ก้าวสู่ความมั่นคง หลังเกษียณ
ติดตามเราได้ที่ไลน์แอด @INNWHY.TV หรือ Facebook.com/INNWHY.TV และ Youtube.com/c/innwhy
Contact us : INNWHY31@gmail.com